อารักขกรรมฐาน ๒ - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย(พระราชสังวรญาณ) วัดป่าสาลวัน อ.เมืองนครราชสีมา

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 18. 11. 2021
  • ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในพระองค์เอง
    และที่ทรงเกื้อกูลบุคคลอื่น
    พุทธานุสสติ คือ การตั้งสติตามระลึกอยู่ที่คุณของพระพุทธเจ้า
    อาจจะระลึกด้วยการสาธยายตามที่สวดกันว่า อิติปิโส ภควา เป็นต้น จนจบ
    หรือว่าระลึกด้วยบทใดบทหนึ่ง เช่น อิติปิ โส ภควา อรหํ
    แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอรหันต์
    หรือภาวนาบทว่า พุทฺโธ
    แต่ละข้อนั้น ชื่อว่าเป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
    พระคุณของพระพุทธเจ้าเมื่อกล่าวโดยสรุป
    ในส่วนที่เป็นพระคุณส่วนพระองค์เอง
    คือ ทรงประกอบด้วยปัญญาในการตรัสรู้
    บริสุทธิคุณ คือ ทรงมีพระทัยบริสุทธิ์จากอาสวกิเลสอย่างแท้จริง
    กรุณาคุณ คือ ข้อที่พระองค์ทรงแสดงธรรมะซึ่งได้ตรัสรู้มาแก่สัตว์โลก
    จนประดิษฐานขึ้นเป็นรูปของพระพุทธศาสนา
    นี้เป็นส่วนของพระคุณที่เกื้อกูลแก่บุคคลอื่น
    การระลึกจึงอาจระลึกบทใดบทหนึ่งก่อนด้วยใจสงบหรือระลึกทุกบทก็ได้
    อย่างน้อยที่สุดเห็นได้ชัดคือเป็นการเพิ่มศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส
    ในพระพุทธเจ้าให้สูงขึ้น จิตจะกำหนดอยู่ที่พระพุทธคุณ
    ซึ่งเรากำหนดระลึก ช่วยให้การปฏิบัติในชีวิตของตนผสมกลมกลืน
    กับพระคุณของพระพุทธเจ้า คือ มีความบริสุทธิ์ใจ มีปัญญา
    และมีความกรุณาต่อบุคคลอื่น
    ๒. เมตตา การแผ่ไม่ตรีจิต คิดที่จะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
    เมตตาในที่นี้จึงเป็นเพียงการตั้งความรู้สึกปรารถนา
    ที่จะเห็นคนและสัตว์ทั้งหลายอยู่กันอย่างไม่มีเวร ไม่มีภัย
    ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ประทุษร้ายกัน ให้แต่ละชีวิตมีความสุข
    ตามสมควรแก่ฐานะของตน เพราะว่าเรานั้นต้องการความสุข
    ไม่ต้องการความทุกข์ฉันใด คนอื่น สัตว์อื่นก็มีความต้องการเช่นเดียวกัน
    พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราสร้างความรู้สึกอย่างนี้ไปในสัตว์ทั้งหลาย
    เพื่อไม่ให้มีเวรมีภัยซึ่งกันและกัน อย่างน้อยที่สุดถึงแม้สัตว์เหล่านั้น
    ยังมีเวรมีภัยกันอยู่ แต่จะไม่มีเวรมีภัยกับเราหรือเพราะเราเป็นเหตุ
    เมื่อระลึกจนจิตใจสงบอยู่ในอารมณ์นี้ ความเยือกเย็น
    ความสะอาด ก็จะปรากฏขึ้นแก่จิต จิตจะมีความสงบ
    ไม่ขุ่นมัวด้วยอำนาจของความโกรธ ความพยาบาท เป็นต้น
    ๓. อสุภะ คือ การพิจารณากายของตนเองและกายของบุคคลอื่น
    ให้เห็นว่าไม่สวย ไม่งาม อย่างที่ท่านสอนให้ดูที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    ซึ่งปรากฏต่อสายตาของตนเอง จะดูที่ตนเองหรือดูที่บุคคลอื่นก็ได้
    ให้เห็นว่า ไม่ว่าโดยสี โดยสัณฐาน โดยกลิ่นที่เกิด ที่อยู่ของผม ขน เล็บ
    ฟัน หนัง เป็นต้นนั้น ล้วนแล้วแต่ปฏิกูล น่าเกลียด สกปรก น่าขยะแขยง
    ต้องพยายามชำระ ล้าง ขัดสี ฟอก อบกลิ่น ประพรมด้วยของหอมอยู่เสมอ
    เพื่อปกปิดกลิ่นที่ไม่น่ายินดีเหล่านั้น
    ถ้าหากว่ายังมองไม่เห็น ทรงสอนให้ดูที่ซากศพในลักษณะต่างๆ
    การเจริญอสุภกรรมฐาน ก็เพื่อจะถ่ายถอนความรู้สึกรักใคร่
    กำหนัดยินดีในกายตนและกายบุคคลอื่น ให้บรรเทาเบาบางลงไป จ
    นถึงสงบระงับสิ้นไปในที่สุด
    ๔. มรณัสสติ การตั้งสติระลึกถึงความตายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน
    เพื่อให้ไม่มัวเมาประมาทในวัย ในชีวิตของตนเอง
    เมื่อคนอื่นต้องแตกตายไปก็ไม่เศร้าโศกเสียใจ
    เพราะมองเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่เราจะต้องแตกตายไป
    ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตใจก็จะไม่หวาด ไม่สะดุ้ง
    ไม่กลัวต่อความตาย ช่วยให้ใช้เวลาแห่งชีวิตในขณะที่มือเท้า
    สติปัญญายังสามารถอยู่ สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ตน
    และประโยชน์แก่บุคคลอื่นให้บังเกิดขึ้น
    อารักขกรรมฐานทั้งสี่ประการนี้ ท่านบอกว่า ควรเจริญไว้เป็นนิตย์.

Komentáře •