"สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ"

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 6. 07. 2024
  • "สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ"
    การฟังที่ดีย่อมได้ปัญญา เป็นหลักการฟังตามหลักพระพุทธศาสนา
    สุตะ” แปลว่า สิ่งที่ได้สดับ หมายถึงความรู้ที่ได้จากการได้ยินได้ฟัง การสดับ การอ่าน การเล่าเรียน ความรู้ที่ได้จากการศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพและการประกอบกิจต่าง ๆ ในทางโลก สุตะที่เป็นคุณสมบัติของอริยสาวกนั้น หมายถึงความรู้ที่จำเป็นสำหรับทุกคนเพื่อให้รู้จักวิธีที่จะดำเนินชีวิตให้ดีงาม ทำให้รู้จักใช้สุตะ อื่น ๆ มีวิชาชีพ เป็นต้น
    #พรหมวิหาร 4 คือหลักธรรมครองใจ ที่ทำให้คนปฏิบัติในทางประเสริฐทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ประกอบด้วย
    เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
    แก่นของพรหมวิหาร 4 นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน เพื่อทำให้ผู้ใต้บังคับ
    บัญชาทำงานอย่างมีความสุขและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งจะเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
    ได้อีกด้วย
    1. เมตตา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
    การเห็นลูกน้องมีความสุข เป็นสิ่งที่หัวหน้าต้องคำนึงถึง หัวหน้าควรดูแลเอาใจใส่สนับสนุนการทำงาน เพื่อให้ลูกน้อง
    รู้สึกว่าตนไม่ได้โดดเดี่ยว อบอุ่น และมีความสุขในการทำงานมากขึ้น
    2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    หากการทำงานเกิดปัญหาหรืออุปสรรค สิ่งแรกที่หัวหน้าควรทำ การพูดคุย สอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมชี้แนะ
    แนวทางการแก้ไขและพูดให้กำลังใจกับลูกน้อง โดยไม่ปล่อยให้ลูกน้องต้องเผชิญปัญหาเพียงลำพัง
    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    เมื่อลูกน้องประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทางด้านการงาน ด้านครอบครัว หรือในทุกๆด้าน หัวหน้าควรแสดงความยินดี
    ต่อลูกน้องด้วยความจริงใจ ลูกน้องจะรู้สึกว่าตนเป็นคนสำคัญและรู้สึกภูมิใจมากยิ่งขึ้น
    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย ทำใจเป็นกลาง
    หัวหน้าควรวางใจเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่อย่างยุติธรรมหากลูกน้องคนหนึ่งได้รับ
    การช่วยเหลือ แต่อีกคนหนึ่งกลับไม่ได้รับการช่วยเหลือเมื่อพบปัญหา ถือว่าไม่มีความยุติธรรมในการบริหาร ควรให้
    ความช่วยเหลือลูกน้องให้เท่าเทียมกัน ไม่ปฏิบัติเอนเอียงด้วยความรักหรือความชัง

Komentáře •