รางวัลโนเบล ฟิสิกส์ ปี 2022 Part 3: หลักการทดสอบความเป็นจริงเหนือจิตสำนึก (Bell's Inequality)

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 24. 07. 2024
  • รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ปี 2022 "สำหรับการทดลองโฟตอนพัวพัน (entangled photons) ทำให้เกิดการละเมิดความไม่เท่าเทียมกันของเบลล์ (Bell inequalities) และผู้บุกเบิกวิทยาการสารสนเทศควอนตัม (quantum information)"
    ใน part นี้ เกี่ยวข้องกับที่มาของ Bell's Inequality และ CHSH Inequality ในการพิสูจน์ กลศาสตร์ควอนตัม
    #onetomany #quantum #nobelprize2022 #physics
    เนื้อหา
    00:00 คำแนะนำ
    01:00 การกระโดดทางควอนตัม
    01:56 แมวของชโรดิงเจอร์
    04:01 การรับรู้
    04:53 Orthodox กับ Realism
    06:16 การตีความแบบหลายโลก
    07:12 EPR/Bohm
    09:18 Bell Theorem
    10:00 Bell's Inequality
    11:08 CHSH Inequality
    14:00 การทดลองของ Clauser
    14:53 สรุป
    แหล่งอ้างอิง
    On the Einstein Podolsky Rosen paradox
    journals.aps.org/ppf/pdf/10.1...
    Proposed Experiment to Test Local Hidden-Variable Theories
    journals.aps.org/prl/pdf/10.1...
    =================================================
    One To Many - A Brief Science
    ไม่พลาด คลิปความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เข้าใจง่าย ได้ความรู้
    / @onetomanysci
    สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ
    / @onetomanysci
    เพจ Facebook
    / one-to-many-a-breif-sc...
  • Věda a technologie

Komentáře • 37

  • @user-vs8cf7hj3t
    @user-vs8cf7hj3t Před 9 měsíci +1

    ยิ่งฟังก็ยิ่งมันส์ ขอบคุณเป็นอนันต์.

  • @maintenancemg8002
    @maintenancemg8002 Před rokem +1

    รอฟังบทสรุปเลยครับ กำลังเข้มข้น

  • @tussmanasarakun1568
    @tussmanasarakun1568 Před rokem +1

    เย้ยย ได้ฟังซะที ขอบคุณค้าบบบ

  • @OngSK1983
    @OngSK1983 Před rokem +1

    ดีมากครับ ขอบคุณครับ

  • @jirawatmaubkhuntod1823
    @jirawatmaubkhuntod1823 Před rokem +17

    ถ้าไอสไต กับชโรริงเจอ เกิดมาพร้อมยุคโซเชี่ยล น่าจะพิมคีบอทใส่กันยับ😂

    • @onetomanysci
      @onetomanysci  Před rokem +3

      555 น่าจะใช่ หลายช่อง CZcams คงทำ content อธิบายเกือบทุกวันแน่

    • @neti1136
      @neti1136 Před rokem

      😅 ขนาดนกฮูกยุคนั้นยังเบื่อการโต้วารสาร จริงอยู่ ยุคปัจจุบันคงขึ้นเวทีบรรยายใส่กันยับ ทวีตกระทู้ คงมีแค่สองคนโต้กันไม่หลับไม่นอน 😁

  • @9kongkawee
    @9kongkawee Před rokem +1

    สุดยอดครับ

  • @multi-spaceitube
    @multi-spaceitube Před rokem +1

    เมื่อ Quantum computer เสร็จสมบูรณ์และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
    มันจะตอบคำถาม ทั้งหมดที่นักวิทย์ศาสตร์เคยโต้แย้งกันมานานเกือบทั้งหมด
    สามารถสร้างการทดลองบนแฟลตฟร์อมของมันเอง และด้วยสมการความไม่แน่นอนเองก็เป็นไปได้ที่จะสามารถวัด โมเมนตัม และตำแหน่งได้พร้อมๆกัน เมื่อ เดลต้า X และ เดลต้า P ค่าเป็น 0

  • @somkiatsorlum3646
    @somkiatsorlum3646 Před rokem +1

    ขอบคุณมากครับทำให้เราเข้าใจระบบคิดที่ใช้เหตุผลแย้งกันทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาข้อสรุปว่าถูกต้องสุดท้ายในวันนี้แต่วันหน้าเมื่อความจริงใหม่เกิดขึ้นวันนี้ก็จะผิดในอนาคต

  • @nasirtaxi2048
    @nasirtaxi2048 Před 2 měsíci

    ล้ำเส้น ขอบเขตของ วิชาวิทยาศาสตร์ไปสู่วิชาปรัชญา

  • @quarkkrub
    @quarkkrub Před rokem +1

    อธิบายที่มาของอสมการของเบลล์สั้นไปหน่อยครับ อยากให้ลงรายละเอียดเชิงลึกมากกว่านี้

  • @Kampol.Ton.Alter.
    @Kampol.Ton.Alter. Před rokem +2

    ผมจะพิสูจน์ให้ได้ว่า Superposition กับ Entanglement เร็วกว่าแสง

    • @opnndzd
      @opnndzd Před rokem +2

      สู้ๆนะครับ รางวัลโนเบลรอคุณอยู่55555

  • @kirafd1
    @kirafd1 Před rokem

    ถ้ายังอธิยายไม่ได้หมด แนวคิดออทอดอก ก็คือการคาดการณ์ ด้วยความเป็นไปได้ ตามคณิตศาสาตร์

  • @ttkds7954
    @ttkds7954 Před rokem

    โอ้ สมองอันน้อยนิดของข้าพเจ้า

  • @TheVespa744
    @TheVespa744 Před rokem +1

    ตั้งแต่ปี2000 เป็น​ต้น​มา​ เรารู้​เรื่อง​ควอนตั้ม​อะไรเพิ่มมากขึ้นจากยุค​50-70 บ้างครับ

    • @onetomanysci
      @onetomanysci  Před rokem

      ช่วงนั้นเป็น ฟิสิกส์อนุภาค อุปกรณ์อิเล็กโทนิก

  • @jirawatmaubkhuntod1823

    เสียใจเล็กน้อยที่ รางวัลโนเบลก็ตอบไม่ได้ว่าจะส่งข้อมูลเร็วกว่าแสงได้ไหม

  • @user-peaencom
    @user-peaencom Před rokem +1

    ฟังเพื่อเป้นพื้นฐานของควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ไหมครับ

    • @onetomanysci
      @onetomanysci  Před rokem

      -ถ้าเคยเรียนกลศาสตร์ควอนตัมพื้นฐานมาบางแล้ว เรียน Linear algebra ของทางคณิตศาสตร์จะช่วยในการอ่านพื้นฐานทางควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ครับ
      - ในปัจจุบันมีหนังสือหลายเล่มที่เป็นพื้นฐานควอนตัมคอมพิวเตอร์ ถ้าใช้การวิเคราะห์ด้วย Linear algebra จากสมการจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น ครับ

  • @BuiBuBy
    @BuiBuBy Před rokem +1

    ฟังไม่ค่อยเข้าใจเลยแฮะ เดี๋ยวคงต้องไปทวน Part 1,2 ใหม่ 555

    • @onetomanysci
      @onetomanysci  Před rokem

      แบ่งเป็น 2 ประเด็น นะครับ คือ ตัวแปรซ่อนเร้น กับ locality
      -หลายช่องในต่างประเทศมักจะพูดย่อเกินไป โดยมักกล่าวว่า ถ้ามีการละเมิดความไม่เท่าเทียมของเบลล์ ก็หมายความว่า ไม่มีตัวแปรซ่อนเร้น กับ non-locality (มี quantum entanglment)
      -ซึ่งไม่ได้ เป็นเช่นนั้น เนื่องจากการทดลองเป็นการวัดผลของ photon หลายๆ ครั้ง ซึ่งไม่มีทางรู้ว่า มีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่าแสงหรือไม่
      -ในการทดลองของ John Clauser เป็นวัดค่าช่วงสุดท้ายอย่างเดียวเท่านั้น จึงมีความชัดเจนว่า ไม่สามารถใช้แนวคิด ตัวแปรซ่อนเร้นได้

  • @user-dj8rz9xg1j
    @user-dj8rz9xg1j Před rokem +5

    ใช้คณิตในการพิสูจน์ความน่าจะเป็นในพฤติการณืของควอนตัมยังไม่เพียงพอ เพราะควอนตัมอยู่นอกเหนือกฏพื้นฐานทั่วไป
    รางวัลน่าจะใช่แสดงกฎคณิตมากกว่าว่าสามารถพิสุจน์พฤติการณ์ทางควอนตัม

    • @onetomanysci
      @onetomanysci  Před rokem +3

      การทดลองให้มีความชัดเจน ก็มีความสำคัญเช่นกัน นะครับ
      -เพื่อให้เข้าใจกลไก หรือ กระบวนการบางอย่างว่า โมเดลที่เรามีอยู่นั้น ถูกต้องหรือไม่
      -ถ้าโมเดลที่เรามีอยู่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องหาคณิตศาสตร์ใหม่ให้มีความใกล้เคียง กับการทดลองและตีความ สิ่งนั้นในมุมมองใหม่

    • @user-xl2rq2iu9v
      @user-xl2rq2iu9v Před rokem +1

      เองไปตีตัวเสมอเขาอีก

  • @kalistaswain9399
    @kalistaswain9399 Před rokem +1

    ในอดีตเคยมีนักฟิสิกส์หัวร้อนเถียงจนต่อยกันมั้ยครับ? 😂

  • @taowongpechwongpech9699

    สูงเกิน

    • @user-ud3gj5oy2q
      @user-ud3gj5oy2q Před 11 měsíci

      เองแค่ใช้ความพยายามน้อยเกินไป

  • @Oncemaverick
    @Oncemaverick Před rokem

    ไม่มีจริงตัวแปรซ่อนเร้น

  • @butukup
    @butukup Před rokem +1

    ไม่เข้าใจเลย โง่จริงเรา

    • @onetomanysci
      @onetomanysci  Před rokem

      ตอนอ่านแรกๆ ผมก็งง เหมือนกัน ครับ (เมื่อ 7 ปี ก่อน) ใน part 2 กับ 3 มี link งานวิจัยของจริงอยู่ใต้ description ถ้าดูครั้งแรกแล้ว ไม่เข้าใจก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ครับ
      เน้น ประเด็น ตัวแปรซ่อนเร้น กับ locality จะช่วยได้มากครับ

    • @butukup
      @butukup Před rokem

      ขอบคุณครับ

    • @PatiparnPojanart
      @PatiparnPojanart Před rokem +6

      ผมไม่ทราบนะครับว่างงในส่วนไหนแต่ผมขอเดาว่า Bell's Inequality แล้วกันครับ
      จริงๆ Bell's Inequality มันเหมือนใช้กับวิชา set ในคณิตศาสตร์มากกว่าฟิสิกส์สะอีกครับ โดยเอาหลักการ 2 อย่างที่ Einsteins แย้งมาเป็นพื้นฐานนั่นก็คือ
      1) Realism - ดวงจันทร์มันอยู่บนฟ้าตรงนั้นถึงแม้ว่าเราจะไม่มีตัวตนหรือไม่มีการรับรู้จากผู้สังเกตการณ์ใดๆ(no conciousness)
      2) Locality - จากจุด A ไป จุด B จะมีการส่งข้อมูลอะไรก็ตามหากันได้ไม่เกินความเร็วแสง
      จาก realism กับ locality เอาทำเป็น set ของความน่าจะเป็นของ 3 อย่าง A,B,C เช่น A=ดช.ก.ไปรร., B=ดช.ก.ใส่เสื้อสีฟ้า, C=ดช.ก.กินใส้กรอกเป็นมื้อเช้า ซึ่งเหตุการณ์ ABC นี้เกิดขึ้นได้จริงแค่กรณีที่ Realism กับ Locality เป็นจริงพร้อมกันเท่านั้น
      ทีนี้ผมไปวิธีการอธิบายนึงใน MIT course ซึ่งเข้าใจง่ายมากเลยนำว่าแชร์กันคือ
      N[Aที่ไม่เกิดB] + N[Bที่ไม่เกิดC] จะต้องมากกว่าหรือเท่ากับ N[Aที่ไม่เกิดC] เสมอ!!!
      ถ้างงก็ลองวาดวงกลมสามสีซ้อนกันแบบโลโก้ช่อง7 แล้วก็แทนวงกลมวงใหญ่สามวงเป็น ABC ดูครับ
      แต่ที่ยากจริงๆก็คงการทดลองในห้องlab จริงๆหลายๆครั้งให้เกิดเหตุการณ์ ABC แล้วก็วัดผลเป็นค่าสถิติหรือความน่าจะเป็นต่างๆแล้วก็คำนวณออกมา
      ซึ่ง Bell's Inequality นี้ไม่สนใจเลยว่า จะมี hidden variable หรือตัวแปรซ้อนเร้น ที่ยังไม่ค้นพบหรือไม่ แต่ว่าต่อให้มี hidden variable แล้วโลก quantum มันยังประพฤติตัวตาม realism+locality อยู่ยังไง Bell's Inequality ก็ต้องถูกต้องอยู่เสมออยู่ดี

    • @onetomanysci
      @onetomanysci  Před rokem +1

      @@PatiparnPojanart ตอนแรก ก็จะอธิบายแบบ set แหละ ครับ แต่กลัวงง กว่าเดิม

    • @PatiparnPojanart
      @PatiparnPojanart Před rokem +1

      @@onetomanysci ตอนแรกผมเริ่มศึกษาจากการทดลอง stuart+john ที่หมุน polarize ไปมาแล้วกราฟมันควรจะได้ 25% กับ 75% ถ้า Bell's Inequality ถูกแต่มันดันได้ 22.5% กับ 77.5% (จำเลขเป๊ะไม้ได้แต่เป็นกราฟsine) แทน ซึ่งตอนนั้นว่างงแล้ว พอมาเจอ การทดลอง CHSH ยิ่งงงหนักเลย แต่ตอนที่เก็ตทั้งหมดก็เกิดจาก MIT นี่แหละว่ามันพิสูจน์จากหลักความน่าจะเป็นไม่ได้ derive มาจาก calculus อะไรใหญ่โตเลยถึงเก็ททั้งหมด🤣
      ว่าแต่หลังจบ nobel prize แล้วนี่แอดจะไปเรื่องไหนต่อครับ