พิจารณาอารมณ์จิต

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 30. 04. 2023
  • เมื่อเรากำหนดเอาความคิดเป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ เมื่อสติแก่กล้ามีพลังเข้มแข็งขึ้น กลายเป็นสตินทรีย์ แล้วจิตของเราจะเกิดอนิจจสัญญา คือความสำคัญมั่นหมายว่าความคิดก็ไม่เที่ยง เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็จะดำเนินเข้าสู่ขั้นแห่งวิปัสสนากรรมฐานเองโดยอัตโนมัติ เมื่อทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิได้ดี ถ้าหากสมาธิถอนขึ้นมาแล้ว เราไปมัวดีใจกับความสงบ เลยจะไปนึกว่าเราทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิได้ดีแล้ว ดีแล้ว พอใจแล้ว ไปพอใจแต่เพียงแค่นั้น เมื่อจิตถอนออกมาเพราะความดีใจรีบกระโดดโลดเต้นออกจากที่นั่งสมาธิ ไม่ชะลอเวลาอยู่สักพักก่อน เราก็ได้เพียงแค่ความสงบ
    แต่ถ้าเราชะลอเวลา ยังไม่รีบออกจากที่นั่งสมาธิ มาย้อนพิจารณาดูอีกทีหนึ่ง ตั้งแต่เริ่มต้น เราเริ่มนั่งสมาธิ เริ่มกำหนดอารมณ์ พิจารณาตรวจตราดูว่าจิตของเราเป็นอย่างไร สงบหรือไม่สงบ ผ่านอะไรเข้าไปบ้าง มีปีติ สุข เอกัคตามั้ย เพียงแค่นี้ก็เป็นอุบายทำให้เราเกิดสติปัญญา เมื่อเราพิจารณาทบทวนดูจนจบเรื่องที่เราพิจารณาแล้ว มายับยั้งจิตให้เฉยอยู่สักพักหนึ่ง เมื่อความคิดเกิดขึ้น รีบทำสติตามรู้ เอาสิ่งรู้นั้นเป็นอารมณ์ของจิต ทำสติตามรู้ไป เป็นการพิจารณาอารมณ์ในขั้นแห่งวิปัสสนากรรมฐาน
    การปฏิบัติด้วยการบริกรรมภาวนาก็ดี การปฏิบัติด้วยการยกจิตขึ้นพิจารณาอะไรก็ดี เช่นพิจารณากายคตาสติ พิจารณารูปนามก็ดี หรือกำหนดจิตทำสติตามรู้ความคิดก็ดี การปฏิบัติตามแบบดังที่กล่าวมาจุดมุ่ง ก็เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิขั้นสมถะ เมื่อสมาธิขั้นสมถะไม่มี สมาธิไม่มี ฌานก็มีไม่ได้ ในเมื่อไม่มีฌานคือการเพ่งดูจิตและอารมณ์ ปัญญาก็มีไม่ได้ ปัญญาก็คือความคิด ถ้าเมื่อความคิดไม่มี สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ วิชชาความรู้แจ้งก็มีไม่ได้ หรือวิปัสสนาก็มีไม่ได้
    เพราะฉะนั้นความสงบของจิตในขั้นสมถะกรรมฐาน จึงเป็นพื้นฐานให้เกิดวิปัสสนาปัญญา ความคิด หรือสติปัญญาที่เราตั้งใจคิด ที่เราเรียนรู้มาจากตำรับตำรา รู้มาจากการได้ยินได้ฟัง รู้มาจากการค้นการคิด อันนี้เป็นสติปัญญาธรรมดา แต่เมื่อจิตสงบลงแล้วจิตผุดเป็นความรู้ขึ้นมาจะเป็นเรื่องอะไรก็ได้อันนั้นเรียกว่า สมาธิปัญญา
  • Krátké a kreslené filmy

Komentáře • 4