ปราสาทหิน ทับหลังนารายณ์ มหัศจรรย์ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 13. 01. 2024
  • ข้อมูลสำหรับศึกษาเพิ่มเติม จากกูเกิลวิกิพีเดีย (ส่วนหนึ่ง) เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ดังนี้
    อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาขอม คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่
    ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย.
    ประวัติ
    บริเวณทางขึ้นสู่ตัวปราสาทหินพนมรุ้ง
    ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
    จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 กษัตริย์แห่งขอม (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวสถานถวายพระศิวะที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
    สถาปัตยกรรมและโบราณสถาน
    ผังปราสาทหินพนมรุ้ง
    ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ
    องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน
    สะพานนาคราช
    สะพานนาคราช
    ทางเดินสู่ปราสาททั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่า เสานางเรียง จำนวนข้างละ 35 ต้น ทอดตัวไปยัง สะพานนาคราช ซึ่งเป็นรูปทรงกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา
    ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
    ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย
    ตัวปราสาท
    ปราสาทประธาน
    ปราสาทประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตร สูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17
    ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
    ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น ศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระราม (ในเรื่องรามเกียรติ์) หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤๅษีเป็นต้น โดยเฉพาะทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นทับหลังที่ถูกขโมยไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2503 และได้กลับคืนมาในปี พ.ศ. 2531
    ปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤๅษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17

Komentáře • 19

  • @eyeeye4044
    @eyeeye4044 Před 5 měsíci +2

    อีกเสียงครับไม่ใช่เขมรโบราญครับแต่เป็นไทยโบราญคับ

  • @user-xz4qi2hl5f
    @user-xz4qi2hl5f Před 5 měsíci +3

    สมมติผมเป็นคนกรุงเทพแต่ผมจะเขียนจารึกข้างโขดหินว่าเป็นคนบุรีรัมย์คุณจะเชื่อใหม่

  • @user-xz4qi2hl5f
    @user-xz4qi2hl5f Před 5 měsíci +2

    ศิลปะบรรพบุรุุษคนไทย

  • @rungphakeetoot8229
    @rungphakeetoot8229 Před 22 dny +1

    คำบัญญัติไดมีปัญหาควรเลี่ยงการใช้มีคำอื่นอีกมากใช้ได้ ยึดติดคำเดิมจะนำเสนอต่อสาธารณะเขาไม่ยอมรับไม่มีประโยชน์ (อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีในตำรา)

    • @Bualoy2566
      @Bualoy2566  Před 22 dny

      ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ

  • @s.n4778
    @s.n4778 Před 5 měsíci +3

    ศิลปะขอม

  • @Bualoy2566
    @Bualoy2566  Před 5 měsíci

    ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
    ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น ศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระราม (ในเรื่องรามเกียรติ์) หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤๅษีเป็นต้น โดยเฉพาะทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นทับหลังที่ถูกขโมยไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2503 และได้กลับคืนมาในปี พ.ศ. 2531
    ปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤๅษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

  • @user-rf6yx5xq5s
    @user-rf6yx5xq5s Před 3 měsíci +2

    ไม่ใช่ขอมโบราณรึ😂ทำไมต้องเรียก เขมร โบราณล่ะ😂😂

  • @Chatneephat_60
    @Chatneephat_60 Před 4 měsíci +1

    ศิลปขอมโบราณ ไม่ใช่เขมรโบราณ เขรมไม่มีวัฒนธรรม ส่วนขอมได้รับอธิพลมาจาก ฮินดูโบราณ จึงก่อเกิดรูปแบบของศิลป์นี้ ไม่มีเขมรโบาณหรือเกี่ยวกับเขมรทั้งนั้น ขอมครับขอมสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าวรมันที่7 ที่ต้นเกิดมาจากอ.พิมาย

  • @somsakchimplee1826
    @somsakchimplee1826 Před 4 měsíci +1

    เมื่อก่อนอำเภอเฉลิมพระเกียรติขึ้นกับอำเภอนางรอง อำเภอนางรอง ขึ้นกับจังหวัดนครราชสีมาคนพูดไทยสำเนียง โคราช เขมรไม่มีประเทศ ไม่มี กษัตริย์ ไม่มีอารยธรรม ปราสาทพนมรุ้งจึงไม่เป็นของเขมรโบราณ เวลาจะทำ พูดอะไร ศึกษาไห้ครอบครุมด้วยนะ พี่ทิด อายเขา

    • @Bualoy2566
      @Bualoy2566  Před 2 měsíci

      ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็น

    • @webmasterrid5872
      @webmasterrid5872 Před 21 dnem

      ​​​@@Bualoy2566 คุณต้องศึกษาว่า ในจารึกที่ผู้เป็นกษัตริย์ในปราสาทหินนครวัด เขาสลักจารึกบอกตัวเองว่า เป็นชาวสยาม ชื่อทหารก็เป็นชาวสยาม ไม่ได้มีคำจารึกว่า เป็นเขมรโบราณสักคำเลย คำเดียวก็ไม่มี เขมรมันกระเทาะคำว่าเสียมกุกออก เพราะแสลงใจมัน และบันทึกจีนหลายๆ ราชวงศ์ ก็ระบุว่า ผู้สร้างนครวัด คือ กษัตริย์เสียมกุก ที่ จำลองปราสาทบายน ในฝรั่งเศส ก็ระบุชื่อว่า เป็นของสยาม แล้วคุณยังมาอ่านตามนักวิชาการไทยบ้าๆ ที่บอกว่า เขมรโบราณ ได้อย่างไร เขมรโบราณมันอุปโหลกขึ้นมา คุณไปหาจารึกคำว่า เขมรโบราณ หาจนตายก็ไม่มี คุณลองนึกถึงความเป็นจริงบ้างสิ ภาษาที่สลักลงในหินที่นครวัด ที่พนมรุ้ง ไม่ใช่ภาษาเขมร สักคำ

    • @Bualoy2566
      @Bualoy2566  Před 19 dny

      @@webmasterrid5872 ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ สำหรับช่องเรานั้น เปิดเป็นช่องพาเที่ยวชมสิ่งต่างๆ หรือสิ่งที่เดินทางไปพบเห็นมา ไม่ใช่เป็นช่องของนักวิชาการหรือทางโบราณคดีอะไร สิ่งใดบรรยายผิดไป พูดผิดไปก็ขออภัย และหากมีท่านผู้รู้จริงมาแสดงความคิดเห็นที่ถูกต้องก็ขอขอบคุณครับ เพื่อความถูกตัองของขัอมูลต่างๆ

  • @user-iu4jr8tm8h
    @user-iu4jr8tm8h Před 5 měsíci +5

    พอพูดว่าเขมรโบราณ ...เลิกติดตาม

    • @Bualoy2566
      @Bualoy2566  Před 5 měsíci

      ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็น ขอศึกษาเรียนรู้ร่วมกันครับ ส่วนหนึ่งของข้อมูลการบรรยายก็นำมาจากข้อมูลของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งครับ ผิดถูกอย่างไรขออภัยครับ

  • @user-wt2hw2vq7c
    @user-wt2hw2vq7c Před 5 měsíci +2

    สรุปแล้วปราสาทหินในประเทศไทยเป็นศิลปะแบบเขมรๆเป็นต้นกำเนิดใช่มั้ยครับ

    • @Bualoy2566
      @Bualoy2566  Před 5 měsíci

      ก็คงต้องฟังนักวิชาการที่ท่านช่วยกันวิเคราะห์ครับ ส่วนตัวเองคิดว่าก็คงต้องศึกษาเรียนรู้และช่วยกันอนุรักษ์สมบัติของชาติกันไปครับ เพื่อเป็นอนุชนรุ่นหลังๆ ขอบคุณนะครับที่มาแสดงความคิดเห็น