อุทยานแห่งชาติภูกระดึง (Phu Kradueng National Park)

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 29. 08. 2024
  • อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
    Phu Kradueng National Park
    ความยาว 50:13 นาที
    ผลิตปี 2560/2017 โดยบริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด
    ควบคุมการผลิตโดย สมเกียรติ อ่อนวิมล
    เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์สารคดีชุด อุทยานแห่งชาติของไทย รวม 18 แห่ง ความยาว 18 ชั่วโมง ผลิตปี 2560 โดย ไทยวิทัศน์ภาพยนตร์ ▪ ควบคุม-กำกับ-บท-บรรยาย: สมเกียรติ อ่อนวิมล ▪ ดนตรีประกอบภาพยนตร์: ธัญญ์ อ่อนวิมล ▪ ถ่ายภาพ: วงศ์บวร อ่อนวิมล, ชนะวงศ์ น้อยอำมาตย์, วัชระ ทวีโคตร ▪ บรรณาธิการภาพ: สุภาภร พวงอุดม, จักรกฤษณ์ นุชพันธุ์ ▪ Graphics: เหลือ เกตุวงศ์, วันวิสาข์ อ่อนละมุน ▪ จัดการผลิต: สุภัทรชา เทศนอก ▪ อำนวยการการผลิต และสนับสนุนงบประมาณ 18 ล้านบาท: องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
    จากบทภาพยนตร์
    อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
    PHU KRADUENG NATIONAL PARK
    www.thaivision...
    ตำนานพื้นบ้านแต่โบราณ เล่าลือกันมานานหลายชั่วอายุปู่ย่าตายายและลูกหลานว่า พรานป่าไล่ล่ากระทิงโทนขึ้นถึงยอดภูเขาลูกหนึ่ง ในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตตำบลศรีฐาน กิ่งอำเภอภูกระดึง มีคนเล่าลือกันถึงเสียงกระดึงบนยอดภู เสียงกระดึง หรือกระดิ่งนั้นดังดุจเสียงระฆังใหญ่
    กว่านายพรานผู้นั้นจะตามกระทิงโทนไปถึงยอดภู คงจะใช้เวลานานกว่าจะไปถึงยอดภู กว่าจะได้ยินเสียงกระดึงบนภูนั้น ซึ่งมีชื่อเรียกในทุกวันนี้ว่า ... ภูกระดึง
    บนยอดภูกระดึง ต้องมีสิ่งอัศจรรย์แห่งภูผา ยิ่งไปกว่ากระทิงโทนของนายพรานเป็นแน่แท้
    ช่วงต้นทางขึ้นสู่ภูกระดึง จากเชิงเขาล่างสุดที่บ้านศรีฐาน ผ่านจุด “ซำแฮก” และ “ซำบอน” ไปถึง “ซำกกกอก” ณ จุดความสูง 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางนี้ สองข้างทางคือป่าเต็งรัง กระจายทั่วพื้นที่สองข้างทาง ขึ้นไปจนถึงจุดซำบอน
    อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว ซึ่งมีป่าหลายประเภทอยู่ในกลุ่มป่าเดียวกัน เพราะความหลากหลายในสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศ จึงมีป่าดงดิบปกคลุมตามเชิงเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้าลานหินในป่าสนที่อยู่ระดับสูงถัดๆไป
    ป่าเต็งรังสองข้างทางเดินขึ้นภูกระดึง ช่วงต้น บนพื้นที่สูง 200 - 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่จุดแรกที่ทำการอุทยานฯ ไปปางปกค่า ..ซำแฮก
    ...ซำบอน ถึง ซำกกกอก ไม้เด่นที่สุดคือไม้เต็ง และไม้รัง ตามชื่อป่า ไม้อื่นที่สำคัญมี
    ยางเหียง, พลวง, กราด, รกฟ้า, อ้อยช้าง, กว้าว, มะกอกเลื่อม, มะค่าแต้, ช้างน้าว, ติ้วขน, และ ยอป่า
    พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุกชนิดอื่นๆ
    ป่าเต็งรังเป็นป่าโปร่ง ทนแล้ง ธาตุอาหารในดินไม่ต้องอุดมสมบูรณ์ก็อยู่ได้ ในสภาพแล้งและดินและหินกระจายทั่วพื้นล่างบนที่ลาดเชิงเขาและที่ลาดชัน ป่าเต็งรังภูกระดึงมีเนื้อที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร จากเนื้อที่ทั้งหมดของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง 348.12 ตารางกิโลเมตร หรือราว 1 ใน 12 ส่วน หรือประมาณ 8% ของพื้นที่อุทยานฯ
    การที่เป็นป่าแล้งน้ำ การเกิดไฟป่าบ่อยๆทำให้ป่าเต็งรังต้องปรับตัว เปลือกไม้จะหนาทนไฟป่าได้ดี และจะกันการคลายน้ำ อันเป็นเวลาผลัดใบทิ้ง ตัดโอกาสการคลายน้ำจากใบ เมื่อบรรดาใบไม้ที่เคยมีสีเขียวสด กลายเป็นสีเหลืองสด สีแดง สีทอง ในฤดูแล้ง เตรียมตัวเข้าสู่ฤดูหนาว เช่นเดียวกับป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ เพียงแต่ป่าเต็งรัง จะสลัดใบทิ้งจนหมดต้น แต่ป่าเบญจพรรณจะผลัดใบออกไม่หมด ป่าเบญจพรรณภูกระดึงอยู่ต่อจากแนวป่าเต็งรังขึ้นไป จากซำกกกอก ผ่าน ซำกอซาง ถึงซำกกหว้า อันเป็นที่ราบเชิงเขา และที่ลาดชันตามไหล่เขา สูง 600-900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และป่าเบจพรรณนี่เองที่เป็สังคมพืชหลักของภูกระดึง ครอบคลุมพื้นที่ 233 ตารางกิโลเมตร มากถึง 67% พรรณไม้ที่สำคัญ มี ไม้แดง, ประดู่ป่า, กระบก, ตะแบกเลือด พืชชั้นล่างเป็นที่สังเกตุได้ง่าย มีไผ่, หญ้า, ไม้พุ่ม, ไม้เถา, และ พืชล้มลุก
    ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบทั้งหมด ส่วนป่าเบ็ญจพรรณเป็นป่าผสมผลัดใบ สังคมป่าทั้งสองนี้รวมกัน เป็นพื้นที่ป่าผลัดใบ ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ถึง 75% เดือนธันวาคม และเดือนมกราคม จึงเป็นช่วงเวลาที่ป่าเต็งรัง และ ป่าเบญจพรรณที่ภูกระดึงจะผันแปรสีสันเข้าสู่ความตระการตาของฤดูใบไม้ร่วงที่ไม่อาจพบเห็นได้มากนักในประเทศไทย อันเป็นประเทศเขตร้อนชื้นของโลก แต่ที่ภูกระดึง มีให้ชมทุกปี ป่าประเภทไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ที่ภูกระดึง มีป่าดิบ และป่าสน
    ด้วยเหตุว่าเป็นที่บนเขาสูง ลักษณะดินและหินไม่อำนวย แม่จะมีน้ำหรือความชื้นอยู่มาก แต่ก็ไม่มากเท่าป่าบนที่ต่ำหรือที่ราบ ไม่มีฝนตกตลอดปีเหมือนภาคใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ภูกระดึงจึงไม่มีป่าดิบประเภทป่าดิบชื้น มีแต่ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา
    เส้นทางจากซำกกไผ่ ถึง ซำกกโดน เป็นป่าดิบแล้ง เป็นสังคมป่าไม่ผลัดใบ เพราะดินลึกเก็บน้ำได้ดีพอสมควร แต่ก็ยังพบว่ามีไม้ผลัดใบขึ้นแซมผสมอยู่ด้วย ป่าดิบแล้งภูกระดึงมักจะอยู่ตามบริเวณฝั่งตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ตะวันตก ของอุทยาน
    แล้วก็ขึ้นมาถึงป่าดิบเขาที่ซำกกโดน และซำแคร่ ต่อด้วยโขดหินต่างๆ พื้นที่จะสูงชันมากขึ้นต่อไป จนก่อนจะถึงที่ราบบนยอดภูกระดึง
    ป่าดิบเขา ไม่ผลัดใบ เรือนยอดชิดกันแน่นทึบ ปิดกั้นแสงอาทิตย์จนแทบจะไม่มีที่ให้แสงเล็ดลอดลงสู่พื้นดินเบื้องล่าง อยู่ในช่วงความสูง 1,000 เมตรเหจือระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ที่สำคัญ มีต้นทะโล้, สนสามพันปี, พะอง, จำปีป่า และโดดเด่นริมธารกลางป่าดิบเขา คือต้นก่วมแดง (Acer calcaratum Cagnep).....ไฟเดือนห้า.....ราชินีสีเพลิง.....แห่งภูกระดึง สุดแต่จะเรียกชื่อกันไปตามความประทับใจ.
    เชิญชมภาพยนตร์ พร้อมบทภาพยนตร์ฉบับสมบูรณ์ ภาษาไทย และ English ที่ THAIVISION.com
    ที่ www.thaivision...

Komentáře • 8

  • @fosuchananfosanthaweesuk4449
    @fosuchananfosanthaweesuk4449 Před 8 měsíci +2

    ขอบคุณ คุณลุงสมเกียรติ และทีมงานทุกท่าน ทำให้คิดถึงอดีตปี 2535 ที่ไปภูกระดึง แต่ไม่ได้ถ่ายตรงผู้พิชิตภูกระดึง ค่ะ แค่ขึ้นซัมแฮกก็อยากถอดใจแล้ว แต่ขอบคุณธรรมชาติที่สร้างความงดงามให้ได้ชื่นชมและค้นหา บันทึกไว้ในแผ่นดิน ขอบคุณค่ะ เดชอุดม อุบลราชธานี ค่ะ

  • @user-dy6fg8fx7r
    @user-dy6fg8fx7r Před 8 měsíci +1

    ภาพสวยงามมากคะ ขอบคุณมากเลยคะ

  • @kunnikabuttree4049
    @kunnikabuttree4049 Před 8 měsíci +2

    ดนตรีประกอบเพราะพริ้งสมบทบาทค่ะ

  • @wichaiddeesmer2453
    @wichaiddeesmer2453 Před 8 měsíci +1

    สวัสดีครับท่านอาจารย์สมเกียรติ ติดตามโลกยามเช้าของท่านอาจารย์ ทราบว่าทำช่องนี้ด้วย ติดตามมาครับ งดงามมาก ดนตรีประกอบไพเราะ❤🎉❤

  • @kunnikabuttree4049
    @kunnikabuttree4049 Před 8 měsíci +2

    สวยงามค่ะ

  • @anchaleetansakul2880
    @anchaleetansakul2880 Před 8 měsíci +2

    ภาพคมชัด เพลงไพเราะ ขออนุญาตแชร์ค่ะ

  • @kittimaying7954
    @kittimaying7954 Před 8 měsíci +1

    สวยงาม

  • @thaivision
    @thaivision  Před 8 měsíci +1

    Okay เลย