หัวใจคำสอนพุทธ สิ่งทั้งปวงเป็น *อนัตตาไม่ใช่ตัวตน* ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เสียงธรรม โดยหลวงพ่อพุทธทาส

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 9. 09. 2024
  • ความหมายของอนัตตา อนัตตา แปลตามศัพท์ว่า ไม่มีตน ไม่ใช่ตน (น+อัตตา) เพราะสิ่งทั้งปวงเป็นเพียงสักว่าธรรม หรือสิ่ง ๆ หนึ่ง ๆ เท่านั้น คือไม่ใช่สิ่งนั้น และไม่ใช่สิ่งนี้
    ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร เมื่อกล่าวสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่มีตน ไม่มีแก่นสาร มีความหมายว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่เป็นสังขตธรรม และ อสังขตธรรม ล้วนไม่มีตัว ไม่มีตนที่เป็นแก่นที่จะระบุลงไปว่า เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ได้จริง เพราะเมื่อระบุลงไปก็จะกลายเป็นหน่วยย่อยไปเรื่อย หน่วยย่อยนั้นก็จะมีหน่วยย่อยไปเรื่อย ๆ เช่นกัน
    เป็นลักษณะที่ไม่มีปรากฏการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มันไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ตาย ไม่รู้จักตาย ไม่ต้องมีการเกิดหรือการทรงตัว มันก็ยังมีอยู่ได้ ทั้งยัง เป็นการมีอยู่ที่มั่นคง และไม่ใช่มายา สิ่งที่มีลักษณะดังว่านี้ เรารวมเรียกว่าอสังขตธรรม หรือตรงกับสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ “อนัตตา” สิ่งที่เป็นสังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นอนัตตา ดังพุทธดำรัสที่ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา และว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
    เราจึงสามารถกำหนดความเป็นอนัตตาได้จากข้อกำหนด 4 ประการต่อไปนี้คือ
    1. ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของสิ่งนั้นยืนตัวเป็นแก่นเป็นแกนอยู่
    2. สภาพที่ปรากฏนั้น เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ มากมายประชุมกันปรุงแต่งขึ้น
    3. องค์ประกอบเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว เสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา และสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กัน ประมวลขึ้นเป็นกระบวนธรรม
    4. ถ้ากำหนดแยกออกเป็นกระบวนธรรมย่อย ๆ มากมาย และก็มีความสัมพันธ์เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
    ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านยังประมวลลักษณะความเป็นอนัตตาไว้ 4 ประการ รวมทั้งที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้ประมวลเพิ่มเติมเข้ามาอีก 2 ประการ (ข้อ 5-6) รวมทั้งสิ้น 6 ประการด้วยกันคือ
    1. เพราะเป็นสภาพว่างเปล่า คือปราศจากตัวตนที่เป็นแก่น (สุญฺญโต)
    2. เพราะเป็นสภาพไร้เจ้าของ คือไม่เป็นตัวตนของใคร ๆ (อสฺสามิโก)
    3. เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ คือไม่อยู่ในอำนาจของใคร ๆ (อวสวตฺตนโต)
    4. เพราะแย้งต่ออัตตา เพราะเป็นกระบวนธรรมที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กัน และดำเนินไปโดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ไม่มีตัวตนต่างหากซ้อนอยู่ที่จะมาแทรกแซงบงการ หรือแม้แต่ขัดขวางความเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้ (อตฺตปฏิปกฺเขปโต)
    5. เพราะเป็นกองแห่งสังขารทั้งหลายล้วน ๆ (สุทฺธสงฺขารปุญฺชโต)
    6. เพราะความเป็นไปตามเหตุปัจจัย (ยถาปจฺจยปวตฺติโต)
    อนัตตา หรือ อนาตมัน แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร
    เหตุที่ได้ชื่อว่าอนัตตา อนัตตา ที่ขันธ์ 5 ได้ชื่อนี้ เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้
    เป็นสภาพว่างเปล่า คือ หาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ 4 เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
    หาเจ้าของมิได้ คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
    ไม่อยู่ในอำนาจ คือ ไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
    แย้งต่ออัตตา คือ ตรงข้ามกับอัตตา
    การแปลคำว่า อนัตตานั้น ใช้ได้ทั้งคำว่า ไม่มีอัตตา, ไม่มีตัวตน, มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน เพราะ
    สามารถแปลเข้ากันได้กับพระพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นตัวทุกข์, สรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ) มันไม่ใช่ตัวตน"ดังนี้.
    ซึ่งในพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 และ อภิธัมมาวตาร บัญญัตินิทเทส เป็นต้น ท่านได้ระบุไว้ว่า ไม่มีอะไรพ้นไปจาก ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ ดังนั้นขันธ์ 5 จึงไม่ใช่ตัวตน เพราะตัวตนไม่มีอยู่ในที่ใดๆเลย.
    สามารถแปลเข้ากันได้กับสักกายทิฏฐิ 4 หรือ 20 ดังที่ตรัสไว้ทั้ง 4 อย่าง คือ
    ความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวตนเรา,เขา,
    ความเข้าใจผิดว่า ตัวตนเรา,เขามีขันธ์ 5 อยู่,
    ความเข้าใจผิดว่า มีขันธ์ 5 อยู่ในตัวตนเรา,เขา,
    ความเข้าใจผิดว่า มีตัวตนเรา,เขาในขันธ์ 5
    ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.
    ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ดังอธิบายมานี้.
    อ้างอิงแหล่งที่มาบทความเนื้อหา
    1.วิกิพีเดีย/อนัตตา
    2.บ้านจอมยุทธ/baanjomyut.com

Komentáře • 20