เมื่อไม่หลงขันธ์5 ว่าเป็นเรา จิตจะสงบจากความยึดมั่นถือมั่นได้ พอจ.เกียรติศักดิ์ วรธัมโม 7 มิย 67

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 8. 09. 2024
  • เรื่อง จิตจะสงบจากความยึดมั่นถือมั่นได้ เมื่อจิตไม่หลงจิต ไม่หลงกาย ไม่หลงขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา
    ขณะที่พิจารณาอะไรต่างๆ ทุกความรู้สึก จะพิจารณากายก็ดี จะพิจารณาตัวจิตก็ดี พิจารณาบุตร ลูก เมีย สามี ภรรยา อะไรก็ช่าง เงินทองกองสมบัติ ย้อนเข้าหาจิตปั๊บเลย จิตใจนี้ไปยึดว่าเป็นของเราหรือไม่ พิจารณาแล้วพยายามย้อนเข้าหาอันนั้น เป็นวิธีที่ถูกต้อง ใครเป็นผู้สมมุติ จำคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ดูก่อนเราไม่ได้กล่าวไว้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้เป็นตัณหาเหมือนกัน แต่เราตรัสว่าความดำริของใจเป็นตัวตัณหา ตัวจิตนี้มันสมมุติว่าเป็นเราขึ้นมาเองนะ ทั้งๆ ที่ว่าจิตมันก็คือจิตเองนั่นแหละ มันเป็นสักแต่ธาตุรู้เท่านั้นแหละ มันไม่ใช่คน อย่างคาถาที่ให้ไว้ว่า สุญโญ สัพโพ ร่างกายนี้ไม่เป็นของใคร และไม่มีใครเป็นเจ้าของ จิตนี้ก็ไม่เป็นของใคร และก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของด้วย หากเป็นร่างกายไปอย่างนั้นเอง หากเป็นจิตเป็นใจไปอย่างนั้นเอง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้อย่างนั้น ถ้าต้องการที่จะพ้นก็ให้วางจิตวางใจนี้เสีย การที่จะไม่หลงว่าจิตใจนี้เป็นเรานั้นต้องลงด้วยปัญญาที่คำว่า ตัวจิตใจนี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล หากเป็นเพียงสักแต่ธาตุรู้เท่านั้น ย้อนกลับเข้าหาจิตนี่แหละ เห็นปุ๊บย้อนปั๊บทันที ได้ยินปุ๊บย้อนปั๊บทันทีเลย ถ้าไม่ย้อนออกไปยึดเป็นสมุทัยทันทีเลย เป็นสมมุติทันทีเลย มันจะเกิดทุกข์ เกิดอารมณ์ เกิดความยึดมั่นถือมั่นทันทีเลย ย้อนเข้าทันที เรียกว่า จิตเห็นจิตเป็นมรรค มันเห็นว่าตัวจิตนี้จะแสดงอาการหนึ่ง อาการที่มันจะสำคัญว่า ตามธรรมชาติของมันที่มันไหลออกไปมันจะสำคัญว่า ดำริว่า อุปาทานว่า ยึดว่า พอย้อนเข้าหาจิตมันจะเห็นว่าตัวหนึ่งมันจะยึดเอา อีกตัวหนึ่งมันจะมีสติ อีกตัวหนึ่งเป็นสติปัญญาที่ว่า มันไม่ใช่ของเรา เอาทำไม เพราะยึดเอาแล้วมันเป็นทุกข์นะ เราก็ต้องดูว่าเราจะคบใคร ระหว่างกัลยาณมิตร กับอมิตร เราจะคบใคร อีกตัวหนึ่งมันชวนให้ยึด ในจิตใจนั้นมันชวนให้ยึด อีกตัวหนึ่งเป็นธรรมะ เป็นสติปัญญา ยึดไม่ได้ มันไม่เที่ยง ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจิตใจนี่แหละ เพราะตัวจิตนี้มันไปหลงเชื่ออมิตร ก็คือฝ่ายอำนาจกิเลสสมมุติ ย้อนกลับเข้ามันจะเห็นทันทีเลยว่าอาการของจิตตัวหนึ่งนั้นมันจะยึดเอา อาการของอีกจิตตัวหนึ่งนี้มันมีสติปัญญา ไม่เอา เอาแล้วเป็นทุกข์นะ เอาแล้วอารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้นนะ อารมณ์ทั้งหลายเป็นภพชาตินะ แล้วสิ่งที่จะยึดนั้นมันไม่เที่ยงนะ และไม่ใช่ของของตัวด้วย พอย้อนกลับเข้าตรงนี้มันจะเห็นแล้วทีนี้ ตัวจิตนั้นเป็นตัวเลือกระหว่าง ถ้าจะเอายังไงก็ไม่ใช่ของตัวแน่ เพราะต้องตาย ต้องทอดทิ้งไว้ในโลกใบนี้ ตัวปัญญาก็บอกว่า ถ้าไปยึดแล้วมันเป็นทุกข์จะเอาไหม ไม่เอา สิ่งที่มันพิจารณาอยู่นั้นมันก็ไม่เอา มันปล่อยวางไป ไม่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเรา แม้กระทั่งจิตนี้ก็ไม่ใช่เราแล้ว เป็นของมีสำหรับโลก โลกเขาปรุงแต่งไว้ก่อนเราแล้ว ร่างกายก็เหมือนกัน เป็นของของโลกที่โลกเขาปรุงแต่งไว้ก่อนแล้ว เป็นของมีไว้สำหรับโลก ไม่ได้มีไว้สำหรับยึดมั่นถือมั่น เหตุฉะนั้นการมาเกิดในภพนี้ เป็นการมาเกิดเพื่อที่จะทราบความจริงว่า ทุกอย่างที่มันมามาเกิดนี้มันเกิดขึ้นจากอะไร เกิดขึ้นจากตัวจิตหลงจิต เกิดขึ้นจากตัวจิตหลงคลาย เกิดขึ้นจากตัวจิตหลงขันธ์ทั้ง 5 ขันธ์ทั้ง 5 ก็เป็นเพียงแค่ขันธ์ทั้ง 5 เท่านั้น เป็นเพียงเครื่องมือของใช้เท่านั้น จิตใจเองก็เป็นของใช้เท่านั้น ใช้สำหรับรับรู้ ใช้สำหรับคิด พิจารณาในสิ่งที่มีประโยชน์กับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ บุญกับบาปบุญ อะไรเป็นบุญ ก็คือสิ่งที่มีประโยชน์นั่นแหละ ทำแล้วมันเกิดความสุขทั้งตนเองและผู้อื่น อันไหนเป็นบาปทำไปเถอะ ทำแล้วมันเกิดความทุกข์ทั้งตนเองและผู้อื่นด้วยเหมือนกัน ในจิตใจนี้มี 2 เจ้าของ เจ้าของผู้หนึ่งคือคนดี เจ้าของอีกผู้หนึ่งคือคนร้าย ใช้สติปัญญาพิจารณาดูว่า 2 เจ้าของนี้มาจากไหน มาจากสมมุตินั่นแหละ เหมือนมะพร้าวลูกเดียวมี 2 หน่อ มะพร้าว 2 หน่อนี้มันออกมาจากต้นเดียว ทั้งหมดทั้งมวลนี้มันออกมาจากจิตหมดเลย ปุญญาภิสังขารก็จิต จิตเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้น อปุญญาภิสังขารก็จิต จิตเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้น คราวนี้ธรรมะของพระพุทธเจ้าให้เห็นว่า สังขารทั้งดีทั้งไม่ดีหรือทั้งดีทั้งชั่วนี้มันออกมาจากจิตนั่นแหละ พูดง่ายๆ ว่า ตัวจิตนี่แหละมันอารมณ์ดีก็ได้ มันอารมณ์ร้ายก็ได้ ถ้าไปยึดถือมัน มันจะพาให้อารมณ์ดีก็ได้ มันจะพาให้อารมณ์ร้ายก็ได้ แต่ถ้าไม่ยึดเท่านั้นแหละ มันเป็นสักแต่จิตเป็นสักแต่ใจเท่านั้นแหละ เหตุฉะนั้นแล้วจะข้ามความหลงคือจิตหลงจิต จะข้ามมันได้อย่างไร ก็คือไม่ยึดถือจิตใจนั้นว่าเป็นเราเสีย ไม่ยึดถือว่าร่างกายนี้เป็นเราเสีย หากเป็นจิตเป็นใจไปอย่างนั้นเอง ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ของของใคร จิตใจเป็นจิตใจอย่างนั้นเอง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ร่างกายก็เป็นร่างกายไปอย่างนั้นเอง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตนบุคคลที่ไหน การที่เราพิจารณาแล้วย้อนเข้าหาผู้เห็นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ย้อนเข้าเลย แล้วเราจะไปเห็นว่า สำคัญว่า แล้วมันเกิดอะไรขึ้น แล้วสำคัญว่ามันเป็นสิ่งนั้นอย่างที่สำคัญไหม ตามปรมัตถะแล้วมันไม่เป็น มันเป็นธาตุอันเก่านั่นแหละ เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ จะสวยงามแค่ไหน จะขี้ริ้วขี้เหร่อย่างไร จะดีอย่างไร จะร้ายอย่างไร มันก็เป็นสักแต่ว่าธาตุเท่านั้น เพียงแต่ตัวจิตนี้ไปสมมุติค่าความหมายมันเท่านั้นเอง พอย้อนกลับเข้าเท่านั้นแหละ มันจะเข้าใจว่า อ๋อ! ถ้าสมมุติปั๊บมันเป็นทุกข์ เป็นวิตกกังวล อยากได้ อยากมี อยากเป็น ถ้าไม่สมมุติปั๊บมันเป็นปฏิจจนิโรธ ไม่หมุนเวียนแล้ว ดับความหมายสำคัญทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น แม้กระทั่งตัวจิตนี้ก็ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุรู้เท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ตัวตนบุคคล เขาเราที่ไหน นี่แหละที่เรียกว่าปัญญาของพระอริยเจ้านั้นเป็นผู้มีความฉลาดทั้ง 2 ภาค คือ 1. ฉลาดในฝ่ายเป็นโลกียะและผลอันเป็นโลกียะ 2. ฉลาดในฝ่ายเป็นโลกุตระและผลอันเป็นโลกุตระ ท่านจึงสามารถดำรงชีวิตในโลกนี้ได้อย่างไม่ทุกข์ร้อน เพราะท่านเห็นเหตุของโลกเมื่อตามไปจะได้ผลอย่างไร

Komentáře • 1