ฎีกา InTrend EP.62 สัญญากู้ระบุดอกเบี้ยร้อยละ 15 ผู้บริโภคนำสืบพยานบุคคลว่าดอกเบี้ยสูงกว่าที่...

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 22. 08. 2024
  • ฎีกา InTrend ep.62 สัญญากู้ระบุดอกเบี้ยร้อยละ 15 ผู้บริโภคนำสืบพยานบุคคลว่าดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดได้หรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : อัครพันธ์ สัปปพันธ์, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    ในยามจำเป็นบางครั้งเราอาจต้องหยิบยืมเงินทองจากคนอื่นบ้าง แต่ในการกู้ยืมเงินนี้กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขคุ้มครองผู้กู้ไว้ด้วยว่าผู้ให้กู้จะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติมักมีการให้กู้ยืมแล้วเรียกดอกเบี้ยสูงกว่านั้นอยู่เสมอ ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ผู้กู้อ้างว่าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ที่กฎหมายกำหนด ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้บริโภคจะนำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในสัญญากู้ได้หรือไม่
    นายกุ้งเดือดร้อนมีความจำเป็นต้องใช้เงินเร่งด่วนจึงได้ไปขอกู้ยืมเงินจากนายปลา โดยนายกุ้งลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้และกรอกข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนายกุ้งให้ไว้ นายปลานำสัญญาดังกล่าวไปกรอกเองว่าให้กู้ยืมเงิน 150,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่นายปลาได้ให้เงินนายกุ้งไปเพียง 80,000 บาท โดยบอกว่าให้กู้ 100,000 บาท แต่หักดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือนไว้สองเดือน
    นายกุ้งผ่อนชำระเงินคืนให้นายปลาเดือนละ 7,000 บาทบ้าง 8,000 บาทบ้างเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี ต่อมานายกุ้งไม่มีเงินไปชำระให้นายปลา นายปลาจึงฟ้องนายกุ้งเป็นจำเลยเรียกให้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้าง
    ในการสืบพยานนายกุ้งเบิกความว่าตนเองได้รับเงินเพียง 80,000 บาทและนายปลาคิดดอกเบี้ยจริงร้อยละ 10 ต่อเดือน นายปลาเบิกความรับว่าในวันทำสัญญาให้เงินไปเพียง 80,000 บาท แต่อีกสัปดาห์หนึ่งถัดมาให้เงินนายกุ้งไปอีก 70,000 บาท เหตุที่ตนต้องคิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือนเพราะต้องไปยืมเงินคนอื่นมาให้นายกุ้งและตนต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรานั้น
    ตามกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้เงินให้กู้ยืมคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หากคิดดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าวจะทำให้ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
    ปัญหาสำคัญคงเป็นกรณีที่สัญญากำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่าตกลงกู้กัน 150,000 บาท และระบุอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 15 ต่อปีซึ่งไม่เกินที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้นายกุ้งที่เป็นผู้บริโภคในการกู้ยืมเงินจะนำสืบด้วยพยานบุคคลแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วจำนวนเงินที่กู้น้อยกว่าที่ระบุและมีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดได้หรือไม่
    ตามปกติกรณีการทำสัญญากู้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ด้วย กรณีสัญญาลักษณะนี้หากหนังสือที่ทำกำหนดรายละเอียดไว้อย่างไร จะนำพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าความจริงแล้วสัญญาที่ทำขึ้นแตกต่างจากที่ระบุไว้ในหนังสือนั้นไม่ได้
    อย่างไรก็ตาม กรณีเป็นคดีผู้บริโภคที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 10 กำหนดไว้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดให้การทำนิติกรรมต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ให้นำไปใช้กับ “ผู้บริโภคในการฟ้องร้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้” และในการดำเนินคดีไม่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ห้ามไม่ให้นำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในหนังสือสัญญามาใช้กับคดีที่ผู้บริโภคฟ้อง
    ประเด็นปัญหาคงอยู่ที่ข้อความในกฎหมายบอกว่ากรณีดังกล่าว “มิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องร้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้” ซึ่งตามปกติหมายถึงกรณีที่ผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้อง แต่กรณีนี้นายกุ้งเป็นจำเลย แต่ศาลเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคจึงอาจใช้ในกรณีที่ผู้บริโภคเป็นจำเลยด้วย ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบให้เห็นว่าความจริงแล้วสัญญาที่ทำกันแตกต่างจากข้อความในหนังสือได้
    เมื่อกรณีนี้ปรากฎจากคำเบิกความของนายกุ้งและที่นายปลาตอบคำถามว่าความจริงแล้วมีการให้เงินในวันกู้เพียง 80,000 บาทและคิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือน จึงต้องถือว่าสัญญากู้รายนี้มีเนื้อความตามที่ปรากฏ ส่วนที่นายปลาอ้างว่าให้เงินภายหลัง นายปลาก็ไม่มีหลักฐานใด ๆ มาแสดง และการไปกู้ยืมคนอื่นมาแล้วต้องเสียดอกเบี้ยอัตราสูงก็ไม่ใช่ข้ออ้างเช่นกัน
    การที่นายกุ้งชำระเงินไปเกินจากยอดหนี้ที่ควรจะเป็นจึงไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจหรือชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ต้องนำเงินที่ชำระมาหักคิดจากเงินที่ต้องคืนนายปลา ซึ่งปรากฎว่าจำนวนเงินที่ชำระไปแล้วเกินยอดหนี้ที่ควรจะเป็นตามกฎหมาย นายกุ้งจึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระอีก
    ในกรณีนี้คงสรุปได้ว่าแม้สัญญากู้จะเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แต่หากข้อตกลงที่แท้จริงต่างจากข้อความในสัญญา ผู้บริโภคมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบให้เห็นถึงข้อตกลงที่แท้จริงในคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นจำเลยได้โดยไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2563)

Komentáře • 33

  • @user-uv2qg3wg2x
    @user-uv2qg3wg2x Před 10 měsíci +1

    มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณคับ

  • @nayniranam9756
    @nayniranam9756 Před rokem +2

    ขอบคุณมากครับได้ประโยชน์มาก

  • @thanakorn3727
    @thanakorn3727 Před 2 lety +2

    ขอบคุณมากๆ ค่ะ สำหรับความรู้ที่นำมาเผยแพร่

  • @user-hv8go2bi4f
    @user-hv8go2bi4f Před 3 měsíci

    ควรสรุปให้ข้อมูลกะทัดรัด เข้าใจง่ายๆๆ

  • @user-qt5gr6bt2q
    @user-qt5gr6bt2q Před 4 měsíci

    ขอขอบพระคุณสาระดีๆมีประโยชน์ค่ะ

  • @peeraphondaungmanee2013
    @peeraphondaungmanee2013 Před 2 lety +2

    ดีมากเลยครับ

  • @moohaachannel1743
    @moohaachannel1743 Před rokem +4

    ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติมครับ
    จากตัวอย่างที่ยกขึ้นมาในคลิปนี้...
    หากหนังสือสัญญาระบุร้อยละ 15 ต่อปี แต่ในความเป็นจริงผู้กู้ยืมเสนอดอกเบี้ยร้อยละ10-20 ต่อเดือน ผู้ให้กู้จะถือว่าทำผิดกฎหมายมาตราใดหรือไม่ครับ
    และผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหรือไม่ชำระเงินกู้ตามที่สัญญาตกลงกันไว้ ผู้ให้กู้สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ไหมครับ

    • @storytellingbypichailawyer
      @storytellingbypichailawyer Před rokem

      กรณีผู้ให้กู้ มีความเสี่ยงคดีอาญา พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      กรณีผู้กู้ยืมผิดนัดหรือไม่ชำระหนี้ ผู้ให้กู้ฟ้องคดีแพ่ง ตามสัญญากู้ได้ แต่ถ้าผู้กู้ต่อสู้คดี ก็อาจจะเรียกได้แค่ต้นเงิน หรือต้องเอาดอกเบี้ยที่ผู้กู้ชำระเกินมาหักต้นเงินอีกทีครับ

  • @seafc1085
    @seafc1085 Před 2 lety +1

    ความรู้ดีๆ

  • @user-xx8ne2pu8z
    @user-xx8ne2pu8z Před rokem

    ขอบคุณครับ

  • @user-vw7em4jv5q
    @user-vw7em4jv5q Před 9 měsíci

    ขอสอบถามค่ะ ได้ทำการขายฝากที่นา นายทุนให้จ่ายดอกเบี้ยเดือนล่ะ7500กู้มา250000เขาโกงไหมค่ะ

  • @suratinkreetwee3640
    @suratinkreetwee3640 Před rokem +2

    ขายฝากใชหนังสือมอบอำนาจให้หลานมาทำ ขยายขายฝากผู้ขายฝากมาทำเอง ผู้ขายฝากฟ้องเพิกถอนนิติกรรมขายฝากอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจปลอม สามารถเพิกถอนได้ไหม

    • @storytellingbypichailawyer
      @storytellingbypichailawyer Před rokem

      ต้องดูเอกสารหนังสือมอบอำนาจ และสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมครับ จึงจะตอบได้ชัดเจน

  • @sabopscb411
    @sabopscb411 Před 2 lety +1

    สวัสดีคนับถ้าเราปล่อยเงินกู้2000แต่เราระบุว่าจ่ายก่อนเที่ยงถ้าเกิเที่ยงคิเป็น2800ผิดกฎหมายไหมครับถ้าเราเขี่ยนสัญญาลงกระดาษมีแต่ลายมื่อลูกหนี้ไม่มีลายมื่อเราถ้าลูกหนี้ไม่จ่ายฟ้องร้องได้ไหมครับ

  • @user-sz9de7op9g
    @user-sz9de7op9g Před rokem +1

    ยืมมา10000 ผ่อนวัน 600 ต่อวัน เคียด มากเลยผ่อนไป50000กว่าแล้ว ยังไม่หมด ไคพอจะช่วยบอกวิทีได้บ้างค่ะ

    • @user-xw2cj5ju3p
      @user-xw2cj5ju3p Před 9 měsíci

      พี่เอ๋ย 10000/500 ก็เยอะ หลบชัะ โพดเกิน เจ้าหนี้

    • @torng3040
      @torng3040 Před měsícem

      ป้าลองไปปรึกษาสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิแถวบ้านดูก่อนนะ

  • @I_want_puppy
    @I_want_puppy Před 2 lety +1

    อยากให้ทนายมาดูแล ติดต่อยังไงคะ

    • @storytellingbypichailawyer
      @storytellingbypichailawyer Před rokem

      ติดต่อทนายในพื้นที่ของท่านน่าจะสะดวกและประหยัดที่สุดครับ หรือจะปรึกษาสอบถามเบื้องต้นมาทางเพจได้นะครับ

  • @user-pi2wv1xk8b
    @user-pi2wv1xk8b Před rokem +1

    สอบถามหน่อยครับ ยืมผ่านไลคนรู้จัก ร้อยละ 15 ต่อเดือน
    สามารถลดได้มัยครับ

    • @storytellingbypichailawyer
      @storytellingbypichailawyer Před rokem

      ถ้าประสงค์จะชำระหนี้ และปิดหนี้ไปเลย ลองเจรจากันได้นะครับ

  • @user-rv7fw2fn3u
    @user-rv7fw2fn3u Před rokem

    ❤❤❤

  • @wasusrichan3321
    @wasusrichan3321 Před 2 měsíci

    เป็นหนี้ต้องใช้นะ!!!

  • @moplir5200
    @moplir5200 Před 2 lety

    ผมกู้100%20ต่อเดือน

  • @user-ft7qf6vn9g
    @user-ft7qf6vn9g Před měsícem

    ลูกค้าโกงเยอะมาก

  • @wimalawongkaew5603
    @wimalawongkaew5603 Před 2 lety

    กรณีแบบนี้เลยค่ะ กู้500,000 รับเงินแค่420,000
    จ่ายดอกเบี้ย1.25%ต่อเดือน แต่xเงินต้น500,000ทุกเดือน
    ผ่อนเดือนละ 1หมื่นบาท ครบ12เดือน
    วันนี้ไปโปะหนี้ทั้งหมดค่ะ แต่เขาให้จ่าย 470,xxx
    แบบเกินไปไหมคะ
    ฟ้องได้ไหมคะ เสียดายเงิน
    ถ้าจ้างทนายจะคุ้มไหมคะ
    เอกสารหลักฐานมีค่ะ

    • @oneoly2871
      @oneoly2871 Před rokem +2

      ฟ้อง ไรคะ ตอนยืมไม่ได้คุยกัยให้เข้าใจหรือ เจ้าหนี้ เขาหักล่วงหน้า 1 ปี อันที่จริงก็โหดร้ายแหละคะ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ 2 ฝ่าย ถ้าคุนไม่โอเคเงื่อนไข แต่แรก ก็ไม่น้ากู้เลยนะคะ

    • @skykungch2908
      @skykungch2908 Před rokem

      อย่าไปหายืมเค้านะคะ ถ้าจะฟ้องเอาเงินคืนอ่ะ

    • @user-ip6tc4cc1k
      @user-ip6tc4cc1k Před 9 měsíci +1

      คุณได้เงินมา420000ดอกที่คุณต้องจ่ายดอกใน12เดือนคือ63000จ่าย1เหมื่นทุกเดือน=120000 ต้น+ดอก483000-120000=363000 ที่คุณต้องจ่าย

    • @mhor_nut8793
      @mhor_nut8793 Před 2 měsíci +1

      ขายฝากใช่ไหม ครับ หักค่านายหน้า+หักค่าโอนแล้วรึปล่าวเลยเหลือแค่ 420,000 บาท ถ้าใช่ก็แสดงว่า ต้องตั้งต้นที่ 500,000 x 0.15 = 575,000 คือต้น + ดอก ทำสัญญากับเค้ากี่ปีถ้าทำหลายปี แต่ใช้คืนก่อนเจ้าหนี้สามารถหักค่าธรรมเนียมการไถ่คืนก่อนได้ที่ไม่เกิน 2 เปอร์เซ้น ของ 500,000 ก็จะ เท่ากับ 10,000 บาท คุณ สิริรวมดอก+ต้น 575,000 บาท + 10,000 = 585,000 บาท คุณจ่ายไป 10,000 * 12 = 120,000 - 585,000 เหลือยอดหนี้ที่ต้องคืนที่ 465,000 บาท คำนวนให้แล้วประมาณนี้ ถ้าขายฝากบ้านหรือที่ดิน

  • @user-dq2lq6vi7s
    @user-dq2lq6vi7s Před rokem

    กรณีกู้แบบนี้เหมือนหันค่ะแต่พอมาคิดกันจริงๆๆยืมไปแค่ไม่กี่เดือนคิดทบต้นทบอฝดอกไปเป็น3-4ล้านบาทเลยค่ะแถมขาดส่งไปเดือนเดี่ยวเขาส่งหมายศาลถึงบ้านเลยค่ะอ้างจะฟ้องอย่างเดียวค่ะ

  • @udompornphengcharoen432

    ลูกหนี้ไปตกลงเจ้าหนี้ไว้ว่าดอกเท่าไหร่รู้แก่ใจไม่ใช่โง่หรอกเราไม่เข้าข้างแต่ต้องเป็นธรรมกับเจ้าของเงินบ้าง