บางกอกน้อย - ชัยชนะ บุญนะโชติ

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 21. 06. 2016
  • บางกอกน้อย - ชัยชนะ บุญนะโชติ
    อัลบั้ม : กึ่งศตวรรษ ชุด4 (AV070)
    ชื่อเพลง : บางกอกน้อย
    ศิลปิน : ชัยชนะ บุญนะโชติ
    ---------------------------------------------
    สั่งซื้อ MP3 แม่ไม้เพลงไทยได้ที่ 7-11 ( เซเว่น อีเลฟเว่น)
    ติดตามข้อมูลข่าวสารของ แม่ไม้เพลงไทย เพิ่มเติมได้ที่
    FB : / maemai99
    IG : @maemaiplengthai
    Line : @maemaiplengthai หรือ maemaiplengthai
    www.maemaiplengthai.com
    สั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02 451 1115
  • Hudba

Komentáře • 8

  • @alongkotphunkuea9520
    @alongkotphunkuea9520 Před měsícem

    ชัยชนะ บุญนะโชติ เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2485 ที่อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี จากเพลง "ของเขาไม่เอา ของเราไม่ให้" ของครูพยงค์ มุกดา ครั้นพออายุ 18 ปี ก็ไปบันทึกเสียงให้กับ ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ รวม 14 เพลง และได้ค่าเหนื่อยเป็นทองคำ 20 บาท งานนี้เขาได้อัดเพลงบางกอกน้อย ที่นักร้องดังหลายคน อย่างทูล ทองใจ , ชรินทร์ นันทนาคร นริศ อารีย์ และดาวรุ่งอย่างโฆษิต นพคุณ ปฏิเสธที่จะร้อง แต่เพลงนี่ก็ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังในทันทีและจากนั้นผลงานเพลงของชัยชนะ ก็เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนมาอย่างยาวนาน

  • @JRTHENEXT
    @JRTHENEXT Před 3 lety +2

    เนื้อเพลง และ ดนตรีไพเราะมาก ย้อนกลับมาฟังอีกครั้ง

  • @inew3718
    @inew3718 Před 4 lety +2

    ไพเราะ มากครับ

  • @goodtalk5566
    @goodtalk5566 Před rokem

  • @navylanla8201
    @navylanla8201 Před 4 lety +1

    นิราศรักคลองบางกอกน้อย

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 Před 3 lety +2

    เพลง "บางกอกน้อย" ขับร้องโดย ชัยชนะ บุญนะโชติ คำร้อง-ทำนอง พิพัฒน์ บริบูรณ์
    ระหว่างที่ชัยชนะเป็นนักร้องอยู่วงดนตรีพยงค์ มุกดา มีชื่อเสียงจากเพลง"ล่องใต้" ผลงานของครูพยงค์ มุกดา ชัยชนะได้รับการติดต่อจากครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ให้ไปร้องบันทึกเสียงเพลง 14 เพลงแลกกับทองคำ 20 บาท ชัยชนะแอบหนีครูพยงค์ไปบันทึกเสียง หนึ่งใน 14 เพลงนั้นคือเพลง"บางกอกน้อย"ที่ทั้ง ทูล ทองใจ, ชรินทร์ นันทนาคร, นริศ อารีย์ ต่างปฏิเสธที่จะร้องเพลงนี้ เพราะตอนแรกครูพิพัฒน์ตั้งชื่อเพลงนี้ว่า"ศพลอย"
    เพลง"บางกอกน้อย" เล่าเรื่องของชายหนุ่มที่ตามหาร่างสาวคนรักที่ชื่อบัวลอย บัวลอยลงเล่นน้ำในคลองบางกอกน้อยทั้งที่ว่ายน้ำไม่เป็น เธอจมหายไปในสายน้ำต่อหน้าชายคนรัก เขาพายเรือออกตามหาร่างของสาวคนรักจนสุดคลองบางกอกน้อยก็ไม่พบ คาดว่าร่างสาวคนรักอาจลอยออกแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้ว
    เพลง"บางกอกน้อย" สร้างชื่อให้ชัยชนะโด่งดังยิ่งขึ้น แต่ตัวผู้แต่งเพลง ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ ถูกวิจารณ์อย่างหนัก ว่าแต่งไปได้อย่างไรตรง"โถเจ้าว่ายน้ำไม่เป็น ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย..." คนว่ายน้ำไปเป็นยังกล้าลงไปว่ายเล่นอีก ครูพิพัฒน์เปิดเผยภายหลังว่า ได้ส่งเนื้อเพลงไปให้ครูไพบูลย์ บุตรขันช่วยขัดเกลา ครูไพบูลย์ก็เคยติงในประเด็นนี้ แต่ครูพิพัฒน์บอกครูไพบูลย์ว่า ต้องการสร้างปมให้คนวิจารณ์ ยิ่งถูกวิจารณ์หนัก เพลงยิ่งดัง แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปดังที่ครูพิพัฒน์คาดไว้

    • @napatpleng7950
      @napatpleng7950 Před 3 lety

      จริงๆข้อมูลอาจผิดไปนะครับ
      เพลงนี้ไม่ได้ตั้งทีแรกว่า ศพลอย จริงๆแล้วเพลงนี้ชื่อนี้เลยครับ อาจจะมีคนพูดกันไปเองว่าเพลงนี้มีเนื้อหาที่พูดถึงเกี่ยวกับคำว่าศพ แต่จริงๆแล้วครูพิพัฒน์ ท่านบอกว่าเพลงนี้เดิมก็ชื่อนี้เลยครับ ครูพิพัฒน์ไปหาครูพยงค์ เพื่อขอตัวให้ชัยชนะมาร้องเพลงอัดแผ่นเสียงให้ มีทั้งหมด3เพลง 1.บางซื่อ(อัดแผ่นแล้ว แต่โดนตำหนิจากครูล้วน ควันธรรม ซึ่งแต่งเพลงชื่อ"บางซื่อ"ให้ นริศ อารีย์ ร้องอยู่ก่อนแล้ว เพลงเลยต้องงดทำแผ่นออกมาเพราะจะเป็นการแข็งขันกัน) 2.กระท่อมปลายนา 3.บางกอกน้อย

  • @023855428
    @023855428 Před 3 lety +1

    เพลง บางกอกน้อย ของ คุณอาชัยชนะ บุญนะโฃติ ศิลปินแห่งชาติ ผลงานเพลงของครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ เพลง บางกอกน้อย เป็นเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดให้กับคุณอาชัยชนะ บุญนะโชติ ศิลปินแห่งชาติ ก่อนหน้านั้น ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ ก็ได้แต่งเพลงนี้ ก็เคยให้กับครูคำรณ สัมบุณณานนท์ แต่ไม่ร้อง คุณอาโฆษิต นพคุณ ตอนนั้นยังเป็นดาวรุ่ง ก็ไม่กล้าร้อง แม้แต่คุณอาชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ ก็ไม่กล้าร้อง สุดท้ายเลยให้คุณอาชัยชนะ บุญนะโชติ ศิลปินแห่งชาติ มาร้องแทน และเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุุด เมื่อปี พ.ศ.2507