สี่เสาหลัก รากฐานสังคมไทยที่ยั่งยืน ดร.ฐิติ ชัยนาม

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 5. 09. 2024
  • ดร.ฐิติ ชัยนาม ท่านเป็นนักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์การปกครอง นอกจากนี้ยังเป็นประธานโครงการสี่เสาหลัก ด้วยการเป็นจิตอาสาที่มีวิสัยทัศน์มุ่งมั่น เปลี่ยนแปลงสังคมเชิงบวกให้กับประเทศไทย ท่านอุทิศตนเพื่อการพัฒนามาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี เพื่อที่จะสร้างสังคมไทยให้ยั่งยืน ด้วยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายกับสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งโครงการต่าง ๆ ที่ดร.ฐิติ ชัยนาม ได้เข้าร่วมพัฒนานั้นล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติมาโดยตลอด
    ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน
    “คนส่วนใหญ่รู้จักผมจากการเป็นประธานโครงการสี่เสาหลัก สำหรับเรื่องโครงการนี้ มีแรงบันดาลใจมาจากประมาณ 18 ปีที่แล้ว ผมไปเรียนต่างประเทศ พอถึงวันหยุดผมเห็นพลเมืองของประเทศเขาทุกวัย ออกมาทำความดีในวันหยุด เป็นโครงการเกี่ยวกับสาธารณะเรื่องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม รณรงค์การประหยัดพลังงาน ทุกคนจะถูกสร้าง Mindset ใหม่ให้กับสังคม รู้จักการเสียสละ รู้จักการสร้างความดีตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ เยาวชนจนไปถึงคนสูงอายุ
    “ก่อนอื่นผมขออธิบายเรื่องนี้ให้ทุกคนเข้าใจว่าโครงการสี่เสาหลัก ประกอบไปด้วย 1.ชาติ 2. ศาสนา 3. สถาบันพระมหากษัตริย์ 4. ประชาชน
    “เสาร์ที่ 1 ความเป็นชาติเอกภาพของคำว่าชาติ ถ้าไม่มีชาติเราจะไม่มีที่มานะครับ ไม่มีความเป็นมาของชีวิตเรา ดังนั้นการทำลายศิลปวัฒนธรรมประเพณี หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรมต่าง ๆ คือการทำลายชาติ ตอนที่ผมไปอยู่ต่างประเทศ เห็นผู้ลี้ภัยจำนวนมากหรือบางประเทศที่เขาไม่มีชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ถ้าสิ้นชาติจบเลย คุณไม่มีความเป็นมาไม่มีวัฒนธรรมประเพณีในทางสังคม เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผมจึงต้องรักษาคำว่าชาติไว้
    “เสาที่ 2 คือศาสนา ศาสนาคือแก่นแท้จริยธรรมคุณธรรม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่มนุษย์เริ่มอ่อนแอลงเพราะว่าขาดคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้นศาสนาจึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่กลั่นกรองทำให้มนุษยชาติรู้จักการเสียสละ รู้จักการแบ่งปันและมีคุณธรรมในการที่จะรักษาไว้ ซึ่งคำว่าจริยธรรมคุณธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้สังคมในอนาคตเป็นสังคมที่ขาวสะอาด
    “เสาที่ 3 คือสถาบันพระมหากษัตริย์ หลายท่านที่เรียนหนังสือจบเมืองนอก ครอบครัววงศ์ตระกูลร่ำรวย อยู่ดีมีสุขมาถึงวันนี้ เป็นเพราะการรักษาแผ่นดินจากบรรพบุรุษ ตลอดจนเหล่าทหารกล้าพร้อมทั้งประชาชนที่ยอมเสียสละเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องพื้นแผ่นดินไทย จนกระทั่งพวกเรามีแผ่นดินอยู่ไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือความกตัญญู การมีจิตสำนึกถึงคุณงามความดีต่าง ๆ
    “เสาที่ 4 คือคำว่าประชาชน เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นฐานล่างที่จะก้าวขึ้นไปทุกระดับของประเทศ ดังนั้นการให้ความสำคัญของประชาชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ มีสิทธิมีเสรีแต่ต้องไม่ไปรบกวนคนอื่น ดังนั้นผมจึงให้ความสำคัญประชาชนมาก เพราะประชาชนนั้น เป็นคนขับเคลื่อนวิวัฒนาการของความเป็นชาติด้วย”

Komentáře •