สถาบันปิดทองหลังพระฯ ช่วยชาวสวนทุเรียนชายแดนใต้ ปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิตและมูลค่า

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 16. 08. 2023
  • สถาบันปิดทองหลังพระฯ ช่วยชาวสวนทุเรียนชายแดนใต้ ปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิตและมูลค่า
    จากปัญหาราคาผลผลิตทุเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกกดราคา จำหน่ายทุเรียนได้ในราคาต่ำมาเป็นเวลานาน สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้เข้าไปดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2561 จึงร่วมกับภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ จัดทำโครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณเพื่อเพิ่มมูลค่าทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
    นายกฤษฎา บุญราช ประธานกรรมการสถาบันปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า กระบวนการดำเนินงานของสถาบันปิดทองหลังพระฯ ภายใต้ความร่วมมือบูรณาการจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา ได้น้อมนำแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือการทำความ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา"
    "เราเริ่มเรียนรู้ปัญหาจากเกษตรกรว่านอกจากราคาทุเรียนจะถูกกดราคา มันมีปัญหาจากการว่าคุณภาพทุเรียนของจังหวัดยะลา แม้ว่ารสชาติจะดี แต่ปรากฏว่าการเก็บผลทุเรียนของเกษตรกรบ้างครั้งเก็บอ่อนเกินไป รวมทั้งการดูแลทุเรียนในขณะที่อยู่สวน ปรากฏว่ามีหนอน ตัวอ่อนมา ประกอบกับฝนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาก บางครั้งทุเรียนพอเก็บไปแล้วเป็นไส้ซึม ส่งไปขายต่างประเทศ หรือว่าขนย้ายจากจังหวัดยะลากว่าจะถึงกรุงเทพฯ ผลทุเรียนเสียหาย"
    "เราก็เลยมาระดมสมองว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ทางสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ เลยได้คัดเลือกเกษตรกรจำนวน 18 ราย ซึ่งเป็นคนในพื้นที่และปลูกทุเรียนมาระยะเวลามาพอสมควรไปเรียนรู้เรื่องการดูแลสวนทุเรียนการบำรุงรักษาที่จังหวัดระยอง กับจันทบุรี ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีความชำนาญมากกว่า ก็ทำให้เกษตรกรเหล่านี้เข้ามามีความรู้การจัดสวนทำอย่างไร ระหว่างทุเรียนออกดอก หรือ ออกผลแล้วเขาจะดูแลบำรุงรักษาอย่างไร หรือเมื่อเกิดมีหนอนขึ้นมาจะทำอย่างไรบ้าง ทั้ง 18 คน ก็เอามาเผยแพร่กับพี่น้องเกษตกรในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส ทำให้ในปี 2562, 2563 มีเกษตรกรจำนวนหนึ่งทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครไปสอนจากครู ก ไปสอน ครู ข เผยแพร่วิชาการดูแลบำรุงรักษาทุเรียนมากขึ้นไป"
    ทั้งนี้ สถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกทุเรียนคุณภาพ 20 วิสาหกิจชุมชน และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพที่ใหญ่ที่สุดในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่สามารถบริหารจัดการเองได้ทั้งเรื่องคุณภาพและตลาด ยกระดับเป็นเกษตรกรสมัยใหม่ หรือ Smart Farmer ที่สามารถดูแลสวนทุเรียนอย่างเป็นระบบตามหลักเกษตรสมัยใหม่ พัฒนาตัวเองเป็นผู้ประกอบการ รู้จักกลไกลตลาด การรวมกลุ่มที่มีอำนาจในการต่อรองราคา มีการจัดตั้งกองทุนปัจจัยการผลิต ตลอดจนนำเทคโนโลยีอย่างแอปพลิเคชัน “หมอนทอง” เข้ามาช่วยติดตามผลผลิตทุเรียนคุณภาพทุกระยะ และพัฒนาช่องทางจำหน่ายในหลายรูปแบบ อาทิ การจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อทุเรียนในพื้นที่ในรูปแบบพันธมิตรการค้า การขายออนไลน์แบบสั่งจองล่วงหน้า และการประมูลผลผลิตแบบยกสวน ถือเป็นมิติใหม่ของการขายทุเรียนที่เกษตรกรสามารถกำหนดราคาเองได้
    "ต้องให้เกษตรกร เป็นทั้งเกษตรกรผู้ผลิต และก็เป็นเกษตรกรผู้ขายด้วย ทำให้เกษตรกรเริ่มเรียนรู้วิธีการค้าขาย หลังจากนั้นในปี 2565, 2566 เทคโนโลยีมีความก้าวหน้า การค้าขายทางอินเทอร์เน็ตเริ่มมีการแพร่หลาย เราก็แนะนำให้เกษตรกรนอกจากเอาทุเรียนไปขายตามล้งต่าง ๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ก็เริ่มให้มีการขายทางระบบออนไลน์ด้วย แม้แต่ว่าคนมารับเหมาสวนเขาก็สามารถที่จะประเมินราคาว่าคนที่จะมาตีราคาเหมาสวนต้องดูอะไรบ้าง" ประธานสถาบันฯ กล่าว
    จากผลการดำเนินงานโครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณทุเรียนเพื่อเพิ่มมูลค่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 5 ปี พบว่า เกษตรกรที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการมาก่อน เริ่มเห็นถึงกระบวนการ และผลการพัฒนาของโครงการ ขอให้อาสาสมัครพัฒนาคุณภาพทุเรียนของสถาบันปิดทองหลังพระฯ ช่วยแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพ ถือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จได้ดีอย่างหนึ่ง
    ปัจจุบันเครือข่ายฯ เริ่มมีความเข้มแข็งสามารถดำเนินการได้ด้วยกลุ่มเองเพิ่มมากขึ้น มีสมาชิก 1,229 ราย จำนวนต้น 48,634 ต้น พื้นที่ปลูก 2,432 ไร่ แปลงทุเรียนที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP รวม 770 แปลง สามารถเพิ่มผลผลิตทุเรียนคุณภาพจาก 800 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 1,571 กิโลกรัม/ไร่ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรวม 402.02 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไปสถาบันปิดทองหลังพระฯ จะปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาเพื่อให้กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมีความเข็มแข็ง สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

Komentáře •