สักการะหลวงปู่โตองค์ใหญ่ และสวดชินบัญชร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 9. 09. 2024

Komentáře • 1

  • @god_bless
    @god_bless  Před 3 měsíci

    00:00 บรรยาย
    04:47 สวดพระคาถาชินบัญชร
    สักการะรูปปั้นองค์ใหญ่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เดินทางมาได้ทั้งทางรถและทางเรือ โดยนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเรือท่าช้างไปขึ้นที่ท่าวัดระฆัง
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี หรือ สมเด็จวัดระฆัง หรือ สมเด็จโต หรือ หลวงพ่อโต หรือ หลวงปู่โต พระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อย สันโดษ ไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ เป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากมาจนถึงปัจจุบัน
    พระคาถาชินบัญชร เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น ต่อมาหลวงปู่โตได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นและมีเอกลักษณ์พิเศษ โดยบทสวดนี้ เป็นการน้อมระลึกถึงพระนามและคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รวมถึงพระอรหันต์ 5 พระองค์
    มีความเชื่อว่า หากผู้ใดสวดพระคาถาชินบัญชรเป็นประจำสม่ำเสมอ
    - จะมีสติอยู่กับตัว และมีสมาธิสูง
    - แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย ภูติผี และคุณไสยทั้งปวง
    - มีเมตตามหาเสน่ห์ เสริมสิริมงคลกับตัวเอง
    - วาจาศักดิ์สิทธิ์ พบเจอเรื่องอัศจรรย์ใจได้บ่อย
    - ทำให้อาชีพดีขึ้น ค้าขายดีขึ้น รายได้ดีขึ้น สำเร็จสมดังใจ
    ***รวบรวมข้อมูลมาจากหลายเว็บไซต์ หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอขอบคุณเจ้าของเสียงสวดชินบัญชรมา ณ ที่นี้
    บทสวดพระคาถาชินบัญชร
    ตั้งนะโม 3 จบ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ตั้งจิตระลึกถึง หลวงปู่โต แล้วตั้งอธิษฐาน
    ปุดตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
    อัตถิ กาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตวา
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ
    เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
    ๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
    ๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
    ๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทวิโลจะเน
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
    ๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
    ๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
    ๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
    ๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
    ๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
    ๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
    ๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
    ๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
    ๑๒. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
    วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
    ๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
    ๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
    ๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ