ตามรอยอารยธรรมปราสาทขอมโบราณ ep6. (ปราสาทภูมิโปน)

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 11. 10. 2023
  • ปราสาทภูมิโปน
    ที่ตั้ง บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
    อายุสมัย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓
    รายละเอียด
    ที่ตั้งของปราสาทภูมิโปนเป็นบริเวณที่มีหลักฐานว่ามนุษย์ได้เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ดังปรากฏร่องรอยของคูน้ำ-คันดินรูปร่างไม่แน่นอนอยู่บริเวณโดยรอบชุมชน ต่อมาราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ แห่งอาณาจักรขอมโบราณ ชุมชนบ้านภูมิโปนพัฒนาเป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง มีปราสาทภูมิโปนซึ่งเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่เนื่องในศาสนาฮินดู เป็นศูนย์กลางของเมืองตามแบบวัฒนธรรมขอมโบราณในช่วงเวลานั้น
    ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วย ปราสาทก่อด้วยอิฐ ๓ หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง ๑ หลัง โดยปราสาทอิฐหลังใหญ่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ก่อด้วยอิฐไม่สอปูนแบบศิลปะขอมรุ่นเก่ามีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานเตี้ย เรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยม มีประตูทางเข้า-ออกด้านเดียวทางทิศตะวันออก ส่วนยอดก่อเป็นหลังคาซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ปัจจุบันพังทลายเหลือเพียง ๓ ชั้น บริเวณใต้หน้าบันของประตูทางเข้า-ออก สลักเป็นลายรูปใบไม้ม้วนแบบศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ(ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓) จากการขุดแต่งโบราณสถาน พบชิ้นส่วนศิลาจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ๑ ชิ้น ซึ่งเป็นตัวอักษรที่มีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓
    นอกจากนี้ที่บริเวณปราสาทอิฐขนาดเล็กองค์เหนือสุด ซึ่งสภาพปัจจุบันเหลือเพียงฐาน กรอบประตู และผนังเล็กน้อย ได้พบเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทราย และทับหลังสลักจากหินทราย ภาพสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งนกประกอบวงโค้งที่มีวงกลมรูปไข่ ๓ วง ภายในวงกลมรูปไข่ น่าจะเป็นรูปบุคคล แต่ได้แตกหายไปหมดแล้ว ซึ่งลวดลายบนทับหลังและเสาประดับกรอบประตูนี้เป็นศิลปะขอมแบบไพรกเมง อายุราว พ.ศ. ๑๑๘๐ - ๑๒๕๐
    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาทภูมิโปนประมาณ ๕๐๐ เมตร พบบารายใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบวัฒนธรรมขอมโบราณ ซึ่งบารายเป็นระบบชลประทานที่สำคัญมักพบทั่วไปในชุมชนวัฒนธรรมขอม ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘ ในดินแดนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การสร้างบารายจะไม่ใช้วิธีการขุดลงไปในดินอย่างสระน้ำทั่วไป แต่เป็นการขุดดินมาก่อเป็นคันดินกั้นน้ำในบริเวณพื้นที่ลุ่มที่มีลำธารธรรมชาติไหลผ่าน เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในชุมชนและยังอาจช่วยเรื่องปัญหาน้ำท่วมภายในชุมชนด้วยโดยทั่วไปบารายมักจะมีขนาดใหญ่กว่าสระน้ำ
    ปัจจุบันปราสาทภูมิโปนได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้ว โบราณวัตถุ ได้แก่ ทับหลัง ชิ้นส่วนจารึกและเสาประดับกรอบประตู จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
    เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เก็บค่าเข้าชม
    การเดินทาง จากจังหวัดสุรินทร์ตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๗๗ สายสุรินทร์ - สังขะ ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร จากนั้นตรงไปอำเภอบัวเชด ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒๔ ตรงไปจนถึงชุมชนบ้านภูมิโปนระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร ก็จะถึงปราสาท
    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสุรินทร์ (เพื่อการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ทุกกลุ่มวัย)

Komentáře • 4

  • @user-dv7cu7ow1w
    @user-dv7cu7ow1w Před 3 měsíci

    😍🙏🙏🙏

  • @suaibrenk4071
    @suaibrenk4071 Před 3 měsíci

    ชอบมากๆๆเรี่องของอะดีดตชาติปร่างก่อนจ้า❤❤❤สาธุ🙏🙏🙏🙋👍👍👍🇹🇭🇩🇪

  • @user-lw1pr1yc2m
    @user-lw1pr1yc2m Před 5 měsíci

    กับปราสาทช่างปี่ควรจะเล่าว่ามันยุคสมัยเดียวกันในช่วงเวลา๓๕๐มันจะมียุคแรกที่อารยะธรรมเข้ามาในช่วงอายุคนหนึ่งเท่าๆกันครับ..อยากให้ใช้ศักราชเดิมโดยเอา๑๑๘๒ไปลบศักราชทางการออกเสียก็จะตรงความจริง....ลองทบทวนใหม่ไม่ใช่ของช่างปี่พ.ศ.๑๘๐๐แต่ถ้าภูมิโพน๑๑๐๐กว่าๆมันจะห่างกันมากเกินสมัยหนึ่ง....เรื่องของทางการผิดเพี้ยนไม่น่าเชื่อถือครับ

  • @user-bu7py9kc3t
    @user-bu7py9kc3t Před 7 dny

    ปราสาทขอมโบราณ ขอม คือ ตำแหน่งปกครองหรือระดับหัวหน้าของเมืองต่างๆของสยาม ไม่ใช่ว่าจะยกไปเป็นเขมรโบราณนะ เด่วนี้ ปชช.เขารู้กันหมดแล้ว