มหาวชิราวุธ โรงเรียนหลวงแห่งแรกของภาคใต้

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 7. 09. 2024
  • สื่อประชาสัมพันธ์นี้เป็นการขยายความรู้จากนิทรรศการพิเศษเรื่อง “สงขลาศิวิไลซ์ ความงดงามของบ้านเมืองเมื่อ 100 ปีที่ผ่านพ้น” ซึ่งจัดแสดงระหว่างเดือนกันยายน 2564-กุมภาพันธ์ 2565 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาให้กว้างขวางขึ้นจาก on-site สู่ online กำหนดเผยแพร่จำนวน 5 ตอนด้วยกัน
    ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการงานวิจัยสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์นิทรรศการพิเศษ “สงขลาศิวิไลซ์” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา โดยนางสาวผกามาส หลีสกุล นักศึกษาฝึกสหกิจจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
    •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
    เมื่อรับชมวีดิทัศน์แล้ว ขอความกรุณาทุกท่านทำแบบประเมินความพึงพอใจได้ที่ช่องทาง : docs.google.co...
    •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
    ออกแบบและตัดต่อวีดิทัศน์: นางสาวผกามาส หลีสกุล นักศึกษาฝึกสหกิจจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
    •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
    เรียบเรียงข้อมูล/ เสียงบรรยาย :
    นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
    •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
    เอกสารอ้างอิง :
    - อเนก นาวิกมูล และ จรัส จันทร์พรหมรัตน์, สมุดภาพสงขลามหาวชิราวุธ พ.ศ. 2558, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ สงขลา ครั้งที่ 37 พ.ศ. 2558, 2558), 51.
    - อเนก นาวิกมูล, สมบัติเมืองสงขลา, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ สงขลา ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2550, 2550), 53.
    - “ใบบอก” ราชกิจานุเบกษา เล่ม 13, ตอนที่ 48 (28 กุมภาพันธ์ 2439): 568.
    - เขมชาติ เทพไชย, “ประวัติโรงเรียนมหาวชิราวุธ” ใน หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ครูเคล้า คชาฉัตร ครูดีในดวงใจ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา, จรัส จันทร์พรหมรัตน์, บรรณาธิการ, (สงขลา: โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา,2561), 29.
    - ประวัติโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา, วันที่สืบค้น 15 สิงหาคม 2564, จาก www.mvsk.ac.th/...
    - ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร, ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา, (สงขลา : ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา, 2539), 165.
    - ประกาศในหนังสือกรมราชเลขานุการ วันที่ 18 มิถุนายน พุทธศักราช 2458 อ้างอิงใน อเนก นาวิกมูล และ จรัส จันทร์พรหมรัตน์, สมุดภาพสงขลามหาวชิราวุธ พ.ศ. 2557, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ สงขลา ครั้งที่ 36 พ.ศ. 2557, 2557), 21.
    •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
    ที่มาภาพถ่ายเก่า :
    - พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงฉายราว พ.ศ. 2438 จากหนังสือเกาะสมุย-สงขลา-ระโนด-กระทุ่มแบน
    - เจ้าพระยายมราช (ปั้นสุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช จากหนังสือสมุดภาพสงขลามหาวชิราวุธ พ.ศ. 2558
    - พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา จากหนังสือสมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ พ.ศ. 2558
    - สัณฐาคาร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ในบริเวณโรงเรียนวิเชียรชมในปัจจุบัน ใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนมหาวชิราวุธเมื่อปี 2457 เป็นต้นมา จากหนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ครูเคล้า คชาฉัตร ครูดีในดวงใจ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
    - อาคารสโมสรเสื่อป่า โรงเรียนมหาวชิราวุธ อนุเคราะห์ภาพโดยนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์ อาจารย์โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
    - อาคารเรียนไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน โรงเรียนมหาวชิราวุธ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2478 จากหนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ครูเคล้า คชาฉัตร ครูดีในดวงใจ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
    - อาคารเรียน 1 ของโรงเรียนมหาวชิราวุธ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2496 จากหนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ครูเคล้า คชาฉัตร ครูดีในดวงใจ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
    - อาคารเรียน 1 ของโรงเรียนมหาวชิราวุธ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2496 อนุเคราะห์ภาพโดยพล.ต. เสนีย์ ศรีหิรัญ ผบ.มทบ.44 ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
    - ถ่ายภาพหน้าอาคารไม้ “ศิลปปฏิบัติ”ของโรงเรียนมหาวชิราวุธ จากหอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
    - การศึกษาจากวัด พระสงฆ์เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ จากบทความเรื่อง การจัดการศึกษาสมัยใหม่ยุค ร.5 ชาวบ้าน-พระยังต้านใช้ศาลาวัดเป็นที่สอน โดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag....
    - วัดและพระสงฆ์เมื่อเริ่มสนับสนุนการจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียน จากบทความเรื่อง การจัดการศึกษาสมัยใหม่ยุค ร.5 ชาวบ้าน-พระยังต้านใช้ศาลาวัดเป็นที่สอน โดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag....
    - บรรยากาศในห้องเรียนที่จัดการศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 จากบทความเรื่อง การจัดการศึกษาสมัยใหม่ยุค ร.5 ชาวบ้าน-พระยังต้านใช้ศาลาวัดเป็นที่สอน โดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag....
    •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
    ดนตรีประกอบ :
    เพลงคลื่นกระทบฝั่ง โดยวงดุริยางค์สากล ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
    วีดิทัศน์ประกอบ : ภาพมุมสูงโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 โดยนายศิษฐวุฒ จันทรกรานต์ อาจารย์โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา อนุเคราะห์ภาพโดยผู้อำนวยการ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา

Komentáře • 2

  • @user-ko5yl6xb1q
    @user-ko5yl6xb1q Před rokem +3

    คิดถึงบรรยากาศเก่าๆไม่ได้กลับไป 30 กว่าปีแล้ว

  • @user-pn5po9hd8s
    @user-pn5po9hd8s Před 11 měsíci

    รัก ศรัทธา มหาวชิราวุธ