เดือนเพ็ญ

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 1. 07. 2022
  • "เดือนเพ็ญ" ... หรือชื่อดั้งเดิม "คิดถึงบ้าน" เป็นบทกวีที่เขียนขึ้นซึ่งกลายเป็นเนิ้อเพลง-ทำนอง โดย อัศนี พลจันทร ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าบทเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ ...
    อัศนี พลจันทร หรือในนามปากกาคือ นายผี ชื่อจัดตั้งในนาม สหายไฟ หรือลุงไฟ อัยการ, นักเขียน, นักประพันธ์และนักปฏิวัติ คือชายผู้แต่งบทเพลง "เดือนเพ็ญ" ขึ้นเมื่อครั้งอยู่ในป่าทำงานภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ก่อนมีอันต้องหลบหนีเคลื่อนย้ายไปหลายประเทศทั้งเวียดนาม จีนและลาว ... บทเพลงนี้ถูกเขียนขึ้นเพราะความรู้สึกคิดถึงบ้าน บุคคลที่รักและแผ่นดินเกิดที่จากมานานและไม่รู้ว่าจะได้กลับไปอีกครั้งเมื่อไหร่? ...
    เพลง เดือนเพ็ญ นี้ จัดได้ว่าเป็นบทเพลงไทยที่ถูกนำมาบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่างๆ มากที่สุดเพลงหนึ่งในหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากหลากหลายศิลปิน จนหลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบทเพลงนี้เป็นบทเพลงของใคร? มีที่มาที่ไป รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงนี้อย่างไร? ...
    สุรชัย จันทิมาธร (น้าหงา) บันทึกถึงที่มาของเพลงนี้ไว้ในถนนหนังสือ ฉบับเดือนตุลาคมปี 2528 ว่า “…….ที่สนามรบก่อนจะเกิดศึกใหญ่ (หมายถึงยุทธการล้อมปราบในเขตน่านเหนือ) ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา (นายผี) เพลง “คิดถึงบ้าน” ถูกร้องให้ผมฟังโดย หมอตุ๋ย สหายหญิงผิวคล้ำคนภาคกลางแถบราชบุรี ซึ่งเป็นญาติของเขา และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้นตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว” ...
    ชื่อเดิมของเดือนเพ็ญ คือ "คิดถึงบ้าน" น้าหงาเป็นคนนำเพลงนี้ออกมาจากป่า (บางแหล่งข้อมูลบอกเป็นน้าหมู พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ) และถูกนำมาบันทึกเสียงครั้งแรกในนามวงฅาราวาน อัลบั้ม "บ้านนาสะเทือน" ในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ยืนยง โอภากุล (น้าแอ๊ด) ได้นำมาบันทึกเสียงอีกครั้งในนามวงคาราบาวในอัลบั้ม "กัมพูชา" และได้มีการเปลี่ยนชื่อเพลงจากเดิม "คิดถึงบ้าน" เป็น "เดือนเพ็ญ" มานับแต่นั้น (จนหลายคนเข้าใจมาตลอดว่าเป็นเพลงของคาราบาว) รวมทั้งมีการสลับท่อนของเนื้อเพลงนิดหน่อยด้วย ...
    ยังมีศิลปินอีกหลายท่านที่ทั้งนำมาขับร้องและบรรจุอยู่ในอัลบั้มรวมทั้งบันทึกการแสดงสด อาทิเช่น เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์, คนด่านเกวียน, อัสนี-วสันต์ โชติกุล, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, นรีกระจ่าง คันธมาศ, โจ้ วงพอส หรือแม้แต่นักร้องลูกทุ่งอย่าง มนต์สิทธิ์ คำสร้อย, สุนารี ราชสีมา, สายัณห์ สัญญา , ยอดรัก สลักใจ ก็ยังได้นำไปบันทึกเสียงใหม่อีกด้วย ... แม้แต่ Yoshiki แห่งวง X-Japan ก็เคยนำนี้บรรเลง Piano ในช่วงอังกอร์ในคอนเสิร์ตของ X-Japan เมื่อครั้งมาเปิดการแสดงในประเทศไทย 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ...
    บทเพลงนี้น่าจะถือได้ว่าเป็น "บทเพลงอมตะ" เพลงหนึ่งของไทย ไม่ว่ามันจะเกิดจากความรัก ความห่วงใย คิดถึง อาทร (ด้วยหลายท่อนของเนื้อเพลงมีการใช้ "ลม" ในการสื่อความ ... ลมหรือ "ป้าลม" วิมล พลจันทร คือภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของนายผี) ... หรือเกิดจากสภาพทางสังคม การต่อสู้ทางความคิดการเมือง หรืออะไรก็แล้วแต่ ทว่า "เดือนเพ็ญ" ได้มอบคุณค่าและความหมายดีๆ ไว้ให้กับใครหลายๆ คน ...
    แม้ท้ายที่สุด อัศนี พลจันทร จะไม่ได้กลับบ้าน (แผ่นดินไทย) อย่างที่มีการพรรณาไว้ในบทเพลง ด้วยการที่ต้องหลบหนีไปยังเวียดนาม จีน ก่อนจะกลับมาอยู่ที่แขวงอุดมไซ สปป. ลาว และเสียชีวิตลงที่นั่นเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ... แต่กระนั้นเมื่อเวลา 11.50 น. ของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ณ จุดกึ่งกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว "นายผี" อัศนี พลจันทร ก็ได้เดินทางกลับบ้าน (กลับสู่ผืนดินเกิด) แม้จะไม่ใช่ร่างที่มีลมหายใจ โดยมีพระภิกษุสามรูปถือสายสิญจน์ผูกโยงกับกระเป๋าที่บรรจุกระดูกของเขา เป็นผู้นำทางเขากลับสู่มาตุภูมิ พร้อมคณะผู้คนที่ช่วยประสานและนำพาภารกิจ "นำนายผีกลับบ้าน"... และแน่นอนว่ามีป้าลมภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากเป็นผู้ไปรับและพากระดูกของสามีที่พรากจากกันไปนาน กลับบ้าน
  • Hudba

Komentáře • 3

  • @benjaratarunruea1024
    @benjaratarunruea1024 Před 7 měsíci +2

    ชอบมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ.

    • @tonsorawatthelonely5753
      @tonsorawatthelonely5753  Před 7 měsíci

      ยินดีและขอบคุณมากที่ชอบเพลงที่เล่นนะครับ

  • @jt.arkhom
    @jt.arkhom Před rokem +1

    เข้ากับบรรยากาศไกลบ้านเลยครับ