อาบัติคืออะไร? (ความหมาย ประเภท และวิธีแก้ไขให้บริสุทธิจากอาบัติ) โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

Sdílet
Vložit
  • čas přidán 11. 09. 2024
  • #อาบัติคืออะไร?
    อธิบาย ความหมายของอาบัติ ประเภทของอาบัติ และวิธีแก้ไขให้บริสุทธิจากอาบัติ
    โดย พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
    บรรยายในโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ รุ่นที่ ๔ "ทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
    ณ วัดนิสสรณวนาราม ต.จำปาหล่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง
    วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
    #อาบัติ คือ สิ่งที่ภิกษุต้องเข้าแล้วทำให้ถึงทุกข์ในอบายเป็นต้น
    มาจากบาฬีว่า อาปตฺติ [อา+ปท+ติ] ในกังขาโยชนาให้คำแปลไว้ ๒ นัย คือ
    ๑. สภาพที่ถึงศีลวิบัติและอาจารวิบัติเพราะเหตุ ๖ อย่าง
    (วิ. ฉหิ การเณหิ สีลาจารวิปตฺติโย อาปชฺชนฺตีติ อาปตฺติโย)
    ศีลวิบัติ หมายถึง ปาราชิกและสังฆาทิเสส, ส่วนอาจารวิบัติ หมายถึง อาบัติที่เหลือ
    เหตุ ๖ อย่าง หมายถึง เหตุที่ทำให้ต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ ไม่ละอาย, ไม่รู้, สงสัยแล้วขึนทำ, สำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร, สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร และหลงลืมสติ
    ๒. สภาพที่ทำให้ถึงทุกข์ในอบายเป็นต้นและภัยมีการตำหนิตนเองเป็นต้น
    (วิ. อาปายิกาทิทุกฺขํ อตฺตานุวาทาทิภยํ อาปชฺเชนฺติ ปาเปนฺตีติ อาปตฺติโย)
    อาบัติมี ๗ ประเภท คือ
    ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต
    ปาราชิกและสังฆาทิเสส จัดเป็น ครุกาบัติ (อาบัติหนัก)
    อาบัติ ๕ ประเภทที่เหลือ จัดเป็น ลหุกาบัติ (อาบัติเบา)
    คำว่า อาบัติเบา หมายถึง อาบัติที่บริสุทธิ์ได้ด้วยวินัยกรรมที่เบา คือ บริสุทธิ์ได้ด้วยการแสดงอาบัติ
    ส่วนบรรดาอาบัติหนักนั้น ถ้าปาราชิก วิธีการทำให้ตนบริสุทธิ์มีวิธีเดียวคือการสละภาวะภิกษุ (สึก) ดังขุททสิกขา (คาถา ๓๘๕) กล่าวไว้ว่า
    จาโค โย ภิกฺขุภาวสฺส สา ปาราชิกเทสนา.
    การสละภาวะภิกษุ เป็นการแสดงอาบัติปาราชิก.
    ส่วนสังฆาทิเสส มีวิธีที่ทำให้บริสุทธิ์ได้ด้วยการประพฤติวุฏฐานวิธี คือ ปริวาส มานัต อัพภาน
    *ตัวอย่างของอาบัติแต่ละประเภท :
    #ปาราชิก ได้แก่ เสพเมถุน, ลักทรัพย์, ฆ่ามนุษย์, อวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงโดยตรง
    #สังฆาทิเสส เช่น พยายามทำให้น้ำอสุจิเคลื่อนออกมา, กำหนัดจับต้องกายหญิงมนุษย์ เป็นต้น
    #ถุลลัจจัย เช่น อวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงโดยอ้อม, พยายามทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน แต่อสุจิไม่เคลื่อน, ตัดองคชาต
    #ปาจิตตีย์ เช่น รับเงิน, ฉันอาหารในเวลาวิกาล
    #ปาฏิเทสนียะ เช่น รับอาหารของภิกษุณีตอนบิณฑบาตมาฉัน
    #ทุกกฏ เช่น นุ่งห่มผ้าไม่เรียบร้อย, ใช้บริขารที่ไม่สมควรต่างๆ, ดูการฟ้อนรำขับร้อง
    #ทุพภาสิต ได้แก่ การด่าว่าบุคคลอื่นด้วยประสงค์จะล้อเล่น
    ติดตามในช่องทางอื่นๆ:
    Facebook : เพจนานาวินิจฉัย / mahasilananda
    Facebook : พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท / mahaparkpoom
    TikTok : นานาวินิจฉัย / mahasilananda
    Instagram : นานาวินิจฉัย / mahasilananda

Komentáře • 23

  • @user-od7mq1od7y
    @user-od7mq1od7y Před 6 měsíci +3

    กราบสาธุธรรมครับท่านมหา🙏🙏😊

  • @VinayaBhikkhu5536
    @VinayaBhikkhu5536 Před 6 měsíci +1

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนา​ครับ

  • @phakpoommornthong5221
    @phakpoommornthong5221 Před 3 měsíci

    สาธุ

  • @user-cq1lz4co9m
    @user-cq1lz4co9m Před 6 měsíci +1

    กราบนมัสการเจ้าคะ ขอโอกาสถามว่า..พระปรุงอาหารฉันเองหรือให้โยมทานได้ไหมเจ้าคะ?
    แล้วควรว่างใจอย่างไรเจ้าคะ
    กราบขอบพระคุณเจ้าคะ

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  Před 6 měsíci +1

      พระทำอาหารให้สุกเองมาฉัน จะมีอาบัติทุกกฏเพราะสามังปักกะ ที่ทำได้คือ อุ่นอาหารที่มันสุกอยูุ่แล้ว (เช่น ชงเครื่องดื่ม, ต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ส่วนถ้าทำให้โยมยิ่งไม่สมควร เป็นอเนสนาได้

  • @BumbleBeeGreensTH
    @BumbleBeeGreensTH Před 21 dnem

    กรณีพระกินถั่ว กินเมล็ดทานตะวัน ในป่าปริวาสหลังเพล มันไม่ได้ใช่ไหมครับพระอาจารย์
    ผมเห็นมาหลายป่าแล้วครับ

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  Před 21 dnem

      ปาจิตตีย์ด้วยวิกาลโภชนสิกขาบท

  • @shortfilmdiy2205
    @shortfilmdiy2205 Před 4 měsíci

    ถ้าพระมีโรคประจำตัวต้องซื้อยาหรือเวชภัณฑ์ ท่านเก็บเงินจากที่โยมบริจาคให้มาไว้ซื้อยา ถือว่าเป็นอาบัติหรือไม่ และยาหรือเวชภัณฑ์ที่ซื้อมาด้วยเงินที่พระเก็บไว้ถือเป็นนิสสัคคิยะไหมครับ

  • @Bawzakongma
    @Bawzakongma Před 4 měsíci +1

    สึกเป็นฆราวาสจะมีอาบัติติดตัวไหมครับพระอาจารย์

  • @ณัฐวุฒิ-ล9พ

    พระอาจารย์ครับ
    อาบัติ 5 ประเภทที่เป็นอาบัติเบา ถ้าจะปลงอาบัติในอาบัติ5 ประเภทนี่ใช้คำปลงอาบัติคำเดียวกันไหมครับพระอาจารย์ "สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ"

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  Před 6 měsíci +2

      ปลงอย่างที่ใช้กันนี่แหละครับได้

  • @user-uh4xe9pp2u
    @user-uh4xe9pp2u Před 6 měsíci

    กรณีที่พระ สังฆาทิเสท ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน แบบว่าทำแล้ว ทำอีก
    จากนั้นเลิกทำ เขาว่าจะไปเข้าปริวาส
    เขาจะเข้านานมั้ยครับ
    อีกอย่างตั้งแต่ทำครั้งสุดท้าย จำวันไม่ได้ และก็ทำมานานแล้ว
    ขอคำตอบด้วยครับ

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  Před 6 měsíci

      รอดูคลิปต่อๆ ไปนะ มีพูดไว้ จะทยอยลง

    • @user-uh4xe9pp2u
      @user-uh4xe9pp2u Před 6 měsíci

      @@MahaSilananda ครับ รอฟังครับ

  • @pongpalanun
    @pongpalanun Před 6 měsíci

    อาบัติ​ จากการกระทำแบบเดิมทุกวัน​ เป็นเดือน​ เป็นปี โดยปลงอาบัติ​บ้าง​ ไม่ได้ปลงอาบัติ​บ้าง​ จะมีผลอย่างไรครับ..

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  Před 6 měsíci

      กรรมที่ทำบ่อยๆ เป็นอาจิณณกรรม มีโอกาสให้ผลในชาติต่อๆ ไปได้มาก

  • @user-xk2gd3vb3x
    @user-xk2gd3vb3x Před 2 měsíci

    ถ้าจงใจต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อที่1...แต่เข้าปริวาสกรรม ขึ้นมานัตและอัพภานกรรมทำคืนให้ตัวเองบริสุทธิ์แล้ว...เมื่อตายไปจะตกนรกมั้ยครับ...

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  Před 2 měsíci

      ถ้าแก้ไขอาบัติสำเร็จแล้ว อาบัตินั้นก็ไม่เป็นอันตรายิกธรรมแล้ว ส่วนเรื่องจะไปอบายรึเปล่ามันขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วในชาตินั้นๆ

    • @user-xk2gd3vb3x
      @user-xk2gd3vb3x Před 2 měsíci

      @@MahaSilananda ขอบพระคุณพระอาจารย์มากๆครับ...ความทุกข์ใจของผมลดลงไปได้มากเลยทีเดียว
      สาธุ สาธุ สาธุครับพระอาจารย์😊😊

    • @user-xk2gd3vb3x
      @user-xk2gd3vb3x Před 2 měsíci

      @@MahaSilananda ขอถามพระอาจารย์อีกครับ...ตอนนี้ผมอยู่ปริวาสกรรม แต่ได้ไปต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อ1ซ้อนอีกในเวลากลางคืน...ตอนเช้าตี4..ก่อนทำวัตรเช้า ผมไปปลงอาบัติแจ้งให้พระอาจารย์รับทราบ...ท่านบอกว่าอีก3 วัน..ถึงจะสวดขึ้นปฏิกัสสนาให้...แต่ผมก็ต้องอาบัติอีก...(ประมาณว่าเอาให้คุ้ม)อย่างนี้ผมต้องขึ้นปุณะ..หรือว่าขึ้นปฏิกัสสนาครับ

  • @pommo-lm5zf
    @pommo-lm5zf Před měsícem

    ในกรณีไม่รู้จะยังไงครับ

  • @TaiKham-yd9ge
    @TaiKham-yd9ge Před 6 měsíci +1

    ຂໍນອບນ້ອມກຣາບສາທຸຂະນ້ອຍ