หมอหล่อคอเล่า Doctor Tumm
หมอหล่อคอเล่า Doctor Tumm
  • 444
  • 274 827
#เราสามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองได้นานเท่าไร? #menopause #hormonetherapy
คลิปนี้ปิดท้าย ซีรี่ส์ฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง (MHT) นี้ หมอเอาเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาในการใช้ฮอร์โมนมาเล่าให้ฟังครับ มาชมกันว่าเราสามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนในช่วงวัยทองได้นานแค่ไหน ? มีหลักคิด พอจารณาอะไรบ้าง ? มาชมไปพร้อมกันครับ
#menopause #postmenopause
#MHT #HRT #HormoneTherapy
#วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน
#doctorweightwellnessclinic
zhlédnutí: 47

Video

ทำไมเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนจึงสำคัญในช่วงวัยทอง ? #menopause
zhlédnutí 87Před 12 hodinami
วัยทอง (Menopause) เป็นช่วงที่รังไข่ลดการทำงานลงจากเดิม ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศหญิง ทั้งเอสโตรเจน และ โปรเจสเทอโรน ลดลงจากเดิม ทั้ง 2 ฮอร์โมนทำงานสัมพันธ์กันทั้งการส่งเสริมการทำงานในบางอวัยวะ และ การทำงานตรงกันข้าม เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย คลิปนี้ หมอจะนำเอาข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้มาเล่าให้ฟังครับ #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน #Menopause #WomenHealth #Estrogen #Progesterone #หมอห...
แนวทางการใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองฉบับอัพเดท #MHT #Menopause
zhlédnutí 35Před 16 hodinami
มาอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง หรือ MHT กันในคลิปนี้ครับ Reference : แนวทางเวชปฏิบัติ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดระดู RTCOG Clinical Practice Guideline Menopausal Hormone Therapy. Update 17th DEC 2021. #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน #Menopause #WomenHealth #MHT #BHRT Doctor Weight Wellness Clinic
ใครบ้างที่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทนในช่วงวัยทอง ? #menopause #hormonetherapy
zhlédnutí 71Před 19 hodinami
คลิปนี้ เรามาทบทวนข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Menopausal Hormones Therapy : MHT) ว่าใครบ้างที่เหมาะสมในการใช้ และ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังมีอะไรบ้าง ? พร้อมแล้ว มาชมกันครับ #menopause #postmenopause #MHT #HRT #HormoneTherapy #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน
#การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองยุคนี้ปลอดภัยหรือไม่? #วัยทอง #menopause
zhlédnutí 55Před 21 hodinou
#การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองยุคนี้ปลอดภัยหรือไม่? หลายคนเคยได้ยินมาว่า การใช้ฮอร์โมนในช่วงวัยทองเสี่ยงมะเร็งเต้านม และ เสี่ยงโรคต่าง ๆ แต่ปัจจุบันนี้ คำตอบ กลับตรงกันข้าม ! เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? มาชมเรื่องนี้กันอีกครั้งครับ #menopause #hormonetherapy #MHT #HRT #WomenHealth #หมอหล่อคอเล่า
การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองทำให้เกิดมะเร็งเต้านม? #WHIstudy #menopause
zhlédnutí 92Před dnem
ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในอดีต เกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนทดแทนในช่วงวัยทอง (HRT/MHT) ของ Women's Health Initiative (WHI) study ได้ผลอย่างไรบ้าง ? เรามาทบทวนกันในคลิปนี้ครับ #menopause #menopauseeducation #hormonetherapy #หมอหล่อคอเล่า #doctorweightwellnessclinic
#วัยทองต้องรู้ ! #menopause
zhlédnutí 111Před dnem
"วัยหมดประจำเดือน หรือ วัยทอง (menopause)" เป็นวัยที่รังไข่ทำงานลดลง ทำให้สร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่มาจากรังไข่ลดลงไปด้วย ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogens) โปรเจสเทอโรน (Progesterone) เป็นต้น เมื่อเข้าสู่วัยทองมักมีอาการใดบ้าง ? มาชมคลิปนี้กันครับ #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน #Menopause #Andropause #หมอหล่อคอเล่า #WomenHealth
#เพราะสุขภาพดีเริ่มที่ลำไส้ ! #guthealth #leakygut
zhlédnutí 48Před dnem
"Good Health begins at Good Gut" ชวนทุกคนมาฟังคลิปนี้ เพื่อค้นหาคำตอบไปด้วยกันว่า ทำไมสุขภาพลำไส้จึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของเราทั้งระบบ ? มาชมไปพร้อมกันครับ #Gut #GutHealth #Gutdysbiosis #Leakygut #หมอหล่อคอเล่า
3 ตำแหน่งที่ดื้อต่ออินซูลินระบบเผาผลาญพัง ! #insulinresistance #weightmatters
zhlédnutí 74Před 14 dny
รู้หรือไม่ ? ภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักเกิดขึ้นที่บริเวณ 3 ตำแหน่งอวัยวะสำคัญในร่างกายเหล่านี้ ถือเป็นต้นตอของโรคเรื้อรังและส่งผลให้ระบบเผาผลาญร่างกายพังได้ วันนี้หมอจึงนำเรื่องนี้มารีวิวให้อ่านทบทวนกันอีกครั้งครับ #ดื้ออินซูลิน #InsulinResistance #Obesity #หมอหล่อคอเล่า #metabolichealth #doctorweightwellnessclinic
ลดน้ำหนักแบบสุขภาพดีที่ยั่งยืนควรเป็นอย่างไร? #weightmatters #หมอหล่อคอเล่า
zhlédnutí 92Před 21 dnem
เราทราบกันดีว่า การลดน้ำหนัก (Weight loss) ที่ช้าเกินไป หรือ เร็วเกินไป (Rapid weight loss) นั้น ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพของเราอย่างแน่นอน แล้วเราจะวางแผนการลดอย่างไร ? ให้การลดน้ำหนักของเรานั้น ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และ ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ รวมถึง ควรวางเป้าหมายในการลดน้ำหนักอย่างไรดี ? มาชมคลิปนี้กันครับ #WeightManagement #หมอหล่อคอเล่า #weightmatters #doctorweightwellnessclinic
Metabolic Adaptations to Weight loss คือ ? #weightloss #weightmatters
zhlédnutí 47Před 21 dnem
การลดน้ำหนักมาก ๆ ในช่วงระยะเวลาที่สั้น ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คือ การปรับตัวของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อดึงน้ำหนักขึ้นสู่จุดตั้งต้น เรียกว่า Metabolic Adaptation ทำให้เกิด yo to effect ตามมา ดังนั้น สำหรับหมอแล้ว ไม่แนะนำให้ลดเยอะ ลดมาก ในระยะเวลาที่สั้น ๆ เช่น 1-2 เดือน แต่อยากให้ค่อยเป็น ค่อยไป คือ อยู่ที่ประมาณ 5-10% ของ นน. ตั้งต้น 1-2 kg/เดือน และ ลดด้วยแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหาส...
ลดน้ำหนัก คือ การจัดการชีวิตเราให้ลงตัว #weightmatters #หมอหล่อคอเล่า
zhlédnutí 41Před měsícem
การลดน้ำหนักที่สำเจ็จและได้ผลยั่งยืน ต้องดูแลแบบองค์รวม #wellness #weightmatters #หมอหล่อคอเล่า #doctorweightwellnessclinic
#โรคอ้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพเราอย่างไรบ้าง?👨‍⚕️🎙 #weightmatters #หมอหล่อคอเล่า
zhlédnutí 34Před měsícem
#โรคอ้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพเราอย่างไรบ้าง?👨‍⚕️🎙 #weightmatters #หมอหล่อคอเล่า
#ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเรื่องใดบ้างที่สำคัญกับการจัดการน้ำหนัก? #weightcheck #weightmatters
zhlédnutí 39Před měsícem
#ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเรื่องใดบ้างที่สำคัญกับการจัดการน้ำหนัก? #weightcheck #weightmatters
#ประวัติสุขภาพอะไรในอดีตที่มีผลต่อการเรื่องน้ำหนัก? #weightmatters
zhlédnutí 124Před měsícem
#ประวัติสุขภาพอะไรในอดีตที่มีผลต่อการเรื่องน้ำหนัก? #weightmatters
#เมื่อน้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปเราต้องรีเช็คประวัติอะไรบ้าง? #Weightchanges #weightmatters
zhlédnutí 30Před měsícem
#เมื่อน้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปเราต้องรีเช็คประวัติอะไรบ้าง? #Weightchanges #weightmatters
อะไรคือต้นตอสาเหตุของปัญหาน้ำหนักในยุคนี้ ? #Weightproblems #weightmatters
zhlédnutí 39Před měsícem
อะไรคือต้นตอสาเหตุของปัญหาน้ำหนักในยุคนี้ ? #Weightproblems #weightmatters
เราเคยลดน้ำหนักมาแล้วกี่ครั้งในชีวิต ? #การลดน้ำหนัก #weightmatters
zhlédnutí 51Před měsícem
เราเคยลดน้ำหนักมาแล้วกี่ครั้งในชีวิต ? #การลดน้ำหนัก #weightmatters
#ทำอย่างไรเมื่อระบบเผาผลาญเราพัง ? #metabolichealth #ระบบการเผาผลาญ
zhlédnutí 47Před měsícem
#ทำอย่างไรเมื่อระบบเผาผลาญเราพัง ? #metabolichealth #ระบบการเผาผลาญ
#อยากสแกนระบบเผาผลาญร่างกายต้องทำอย่างไร? #metabolichealth #checkup
zhlédnutí 87Před měsícem
#อยากสแกนระบบเผาผลาญร่างกายต้องทำอย่างไร? #metabolichealth #checkup
รู้ได้อย่างไรว่าระบบการเผาผลาญเรากำลังมีปัญหา ? #metabolichealth #หมอหล่อคอเล่า
zhlédnutí 30Před měsícem
รู้ได้อย่างไรว่าระบบการเผาผลาญเรากำลังมีปัญหา ? #metabolichealth #หมอหล่อคอเล่า
#อย่ากินคาร์บพร้อมไขมัน ! #Randlecycle #metabolism
zhlédnutí 132Před měsícem
#อย่ากินคาร์บพร้อมไขมัน ! #Randlecycle #metabolism
#NutrientSensors : #กุญแจสำคัญสู่การมีสุขภาพดีอายุยืนยาว #metabolism
zhlédnutí 70Před měsícem
#NutrientSensors : #กุญแจสำคัญสู่การมีสุขภาพดีอายุยืนยาว #metabolism
#ร่างกายเรานำเอาไขมันที่เก็บมาใช้ได้อย่างไร? #bodyfuel #fatburn #หมอหล่อคอเล่า
zhlédnutí 105Před měsícem
#ร่างกายเรานำเอาไขมันที่เก็บมาใช้ได้อย่างไร? #bodyfuel #fatburn #หมอหล่อคอเล่า
#ร่างกายเก็บสะสมพลังงานจากสารอาหารที่รับเข้ามาได้อย่างไร? #metabolism
zhlédnutí 74Před měsícem
#ร่างกายเก็บสะสมพลังงานจากสารอาหารที่รับเข้ามาได้อย่างไร? #metabolism
#เราจะรับมือจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันอย่างไร? #stressmanagement
zhlédnutí 129Před měsícem
#เราจะรับมือจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันอย่างไร? #stressmanagement
ปัญหาการนอน ส่งผลต่อสุขภาพเราอย่างไร ? #sleepproblem #sleep #wellness
zhlédnutí 59Před měsícem
ปัญหาการนอน ส่งผลต่อสุขภาพเราอย่างไร ? #sleepproblem #sleep #wellness
#ออกกำลังกายแบบไหนช่วยชะลอวัยไม่แก่เร็ว? #exercise #antiaging
zhlédnutí 114Před měsícem
#ออกกำลังกายแบบไหนช่วยชะลอวัยไม่แก่เร็ว? #exercise #antiaging
#IFช่วยให้เราชะลอโรคชะลอวัยได้อย่างไร? #intermittentfasting #weightmatters
zhlédnutí 103Před měsícem
#IFช่วยให้เราชะลอโรคชะลอวัยได้อย่างไร? #intermittentfasting #weightmatters
#กินแบบไหนชะลอวัยสุขภาพดี ? 👨‍⚕️🎙️🥑🫐 #antiaging #หมอหล่อคอเล่า
zhlédnutí 109Před měsícem
#กินแบบไหนชะลอวัยสุขภาพดี ? 👨‍⚕️🎙️🥑🫐 #antiaging #หมอหล่อคอเล่า

Komentáře

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 2 dny

    #เราจะดูแลสุขภาพอย่างไรเพื่อให้ฮอร์โมนในร่างกายสมดุลและมีสุขภาพที่ดี ? 👨🏻‍⚕💙 "เพราะฮอร์โมนที่สมดุล คือ ชีวิตที่สมดุล" การใช้ชีวิตของเราให้สมดุล ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ให้เหมาะสมกับบริบทและชีวิตที่เราเป็นอยู่ในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งเรื่องของอาหารการกินที่เป็นประโยชน์ในสัดส่วน ปริมาณที่เหมาะสม ช่วงเวลาการกิน การเว้นกินที่เหมาะสม (IF) การออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ รู้จักวิธีในการบริหารจัดการกับความเครียดที่จะเข้ามาในแต่ละวันให้ดีที่สุด ย่อมเป็นแนวทางที่จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี สมดุล ฮอร์โมนสมดุล นั่นเอง ✨ . Copyright © All Right Reserved.

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 2 dny

    #เราจะทราบได้อย่างไรว่าร่างกายมีภาวะฮอร์โมนต่ำลงกว่าปกติ ? . เมื่อฮอร์โมนต่ำลง หรือ มีระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลในร่างกาย ก็มักแสดงอาการออกมาให้เราเห็นในหลาย ๆ ระบบ ซึ่งแบ่งได้ 2 แบบ คือ . 1⃣ อาการทั่ว ๆ ไปที่ไม่จำเพราะเจาะจงกับการขาดฮอร์โมนหรือพร่องฮอร์โมนชนิดใด เช่น เหนื่อยล้าอ่อนเพลียเรื้อรัง น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ความจำไม่ดี สมองไม่สดชื่น ไม่ไว สมองตื้อ นอนไม่ค่อยหลับ เป็นต้น . 2⃣ อาการที่จำเพาะเจาะจงว่าเราน่าจะขาดหรือพร่องฮอร์โมนตัวไหน หมอขอสรุปให้ฟังคร่าว ๆ ที่สำคัญดังนี้

    • @doctortumm
      @doctortumm Před 2 dny

      👨🏻‍⚕✅ #ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen & Progesterone) 👩‍🦰 พบได้บ่อยในวัยใกล้หมดประจำเดือน และ วัยหมดประจำเดือน หรือที่เรามักเรียกกันว่า #วัยทอง นั่นเอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบ ที่บริเวณส่วนบนของลำตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ (Hot flashes) เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน (Night sweats) นอนไม่หลับ หรือ หลับแต่ไม่สนิท (Sleep problems) อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย (Mood swings) ไม่ค่อยมีสมาธิ ผิวบางลง มีริ้วรอยมากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่รับประทานอาหารและออกกำลังกายเหมือนเดิม บางคนอาจมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด กลั้นลำบาก ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นต้น . 👨🏻‍⚕✅ #ฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเทอโรน/Testosterone) 👨 อาการที่บอกว่าระดับเริ่มต่ำลง ได้แก่ สมรรถภาพทางเพศลดลง ความรู้สึกทางเพศลดลง การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง ไขมันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อก็เริ่มลีบเล็กลงกว่าเดิม หงุดหงิดง่าย เรี่ยวแรงตกลง ไม่กระฉับกระเฉง ขาดความมั่นใจและสมาธิ เป็นต้น . 👨🏻‍⚕✅ #ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid hormones) ปัญหาที่พบบ่อย คือ ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) ทำให้การเผาผลาญในร่างกายเราลดต่ำลง จึงอ้วนง่ายขึ้น เหนื่อยเพลียเรื้อรัง ท้องผูก หนาวง่าย ผิวแห้งง่าย สมองไม่สดชื่น ความจำไม่ดี เป็นต้น . 👨🏻‍⚕✅ #ฮอร์โมนต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal Cortex hormone) ได้แก่ ฮอร์โมน Cortisol และ DHEAS ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกายตามที่กล่าวมา โดยมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของความเครียด (Stress) หากเราเป็นคนที่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดอยู่บ่อย ๆ เป็นระยะเวลาที่นาน (Chronic stress) จะส่งผลทำให้ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ สร้างได้ลดลง และมีระดับที่ลดต่ำลงได้ . อาการที่เด่นชัด คือ อ่อนเพลียเรื้อรัง ไม่สดชื่น นอนหลับไม่ดี สมองไม่แล่น น้ำหนักขึ้นง่าย ลดยาก บางคนอาจจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ภูมิแพ้ง่าย เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยไม่สบายหรือเป็นไข้ติดเชื้อง่าย เป็นต้น

    • @doctortumm
      @doctortumm Před 2 dny

      👨🏻‍⚕✅ #ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ดื้ออินซูลิน เป็นปัญหาสุขภาพที่เป็นต้นตอสาเหตุอันดับ 1 ของภาวะน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และ โรคอ้วนในปัจจุบัน และ เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ถือเป็นความผิดปกติของระบบการเผาผลาญที่นำมาก่อนการเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes Type 2) หลายปี . การมีภาวะดื้ออินซูลินเกิดขึ้นในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการเก็บสะสมไขมันมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การดึงเอาไขมันที่สะสมไว้ออกมาใช้เป็นพลังงาน ก็เกิดขึ้นได้ลดลง เพราะว่า เมื่อร่างกายเกิดการดื้อต่ออินซูลิน จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เผาผลาญทั้งไขมันและน้ำตาลได้น้อยลง ระบบเผาผลาญไม่ยืดหยุ่น หรือ พัง (Metabolic Inflexibility) ซึ่งจะนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ นั่นเอง . สาเหตุของการดื้ออินซูลินนั้นมีหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยมากขึ้นในยุคนี้ มาจากการกินอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีปริมาณน้ำตาล และ คาร์บมากเกินไป กินบ่อย และ กินถี่ มากขึ้นในช่วงระยะเวลาติดต่อกันนาน ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามากขึ้น สูงขึ้น (Hyperinsulinemia) จนนำไปสู่การดื้ออินซูลินของเซลล์ต่าง ๆ ร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ เช่น เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อ และ เซลล์ไขมัน นั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการดื้ออินซูลินได้ เช่น การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ นอนน้อย อดนอน ความเครียดสะสมเรื้อรัง การกินยาบางกลุ่มติดต่อกันนาน ๆ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากลุ่มฮอร์โมนสังเคราะห์ต่าง ๆ สาเหตุทางพันธุกรรม (genetics) หรือ แม้แต่การมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 2 dny

    "ฮอร์โมน (Hormone)" เป็นสารชีวเคมีที่สร้างขึ้นในร่างกายเรา เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกาย อวัยวะที่สร้างฮอร์โมนมีหลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ตับอ่อน ต่อมหมวกไต อัณฑะในเพศชาย และ รังไข่ทั้ง 2 ข้างในเพศหญิง หรือแม้แต่ เซลล์ไขมัน เราเรียกตำแหน่งเหล่านี้ว่า "ต่อมไร้ท่อ : Endocrine glands" . เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนหลาย ๆ ตัวจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยส่วนใหญ่ พบว่า ฮอร์โมนเกือบทุกตัว เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen & Progesterone) เพศชาย (Testosterone) ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (DHEA/DHEA Sulfate) หรือแม้แต่ ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับของเราให้ดีนั้น ค่อย ๆ ผลิตลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเลยวัยประมาณ 35 ปีไปแล้ว . นอกจากนี้ การมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ความเครียดสะสมเรื้อรัง ก็ส่งผลให้ฮอร์โมนหลายตัวในร่างกายไม่สมดุลได้ง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน และแน่นอนว่า เมื่อฮอร์โมนตกลง หรือ ไม่สมดุลเท่าเมื่อก่อนย่อมทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ผิดปกติตามมามากมาย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้มากมาย นั่นเอง

  • @tumm77
    @tumm77 Před 3 dny

    👨‍⚕️💙🙏🙏📍📍

  • @MintarXey
    @MintarXey Před 5 dny

    กินใจเฟเต้ค่ะ

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 5 dny

    Reference : Prior, Jerilynn. (2020). Women’s Reproductive System as Balanced Estradiol and Progesterone Actions -A revolutionary, paradigm-shifting concept in women’s health. Drug Discovery Today: Disease Models. 32. 10.1016/j.ddmod.2020.11.005. www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1740675720300153?via%3Dihub

  • @tumm77
    @tumm77 Před 7 dny

    👨‍⚕️👏👏📝📝✅✅

  • @tumm77
    @tumm77 Před 8 dny

    👨‍⚕️🙏🙏👏👏📝📝📝

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 8 dny

    "ทุกคนที่เข้าวัยทอง อาจไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน (MHT) หากแต่ จะพิจารณาใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ และ ไม่มีข้อห้ามใช้เท่านั้น และ ควรมีแพทย์ดูแลรักษา ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด" #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน #Menopause #WomenHealth #MHT #BHRT Doctor Weight Wellness Clinic

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 8 dny

    #ข้อห้ามใช้ (Absolutely Contraindications) 1. มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม มาก่อน 2. มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด โดยที่ ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยสาเหตุจากสูตินรีแพทย์ 3. มีโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคเส้นเลือดสมอง เส้นเลือดหัวใจตีบ โดยที่อาการยังเป็นมากขึ้น หรือ ยังคุมอาการไม่ได้ หรือ คุมได้ไม่ดี 4. มีโรคหลอดเลือดดำอุดตัน ชนิด Deep vein thrombosis/Pulmonary Embolism . ทั้งนี้ ก่อนใช้ฮอร์โมนทดแทนดังกล่าว ควรได้รับการตรวจสุขภาพและรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ . #Reference : แนวทางเวชปฏิบัติ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดระดู RTCOG Clinical Practice Guideline Menopausal Hormone Therapy. Update 17th DEC 2021.

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 8 dny

    #ข้อบ่งชี้ในการใช้ฮอร์โมนรักษาในช่วงวัยหมดประจำเดือน (Indication of treatment) 1. มีอาการ vasomotor symptoms เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากในช่วงกลางคืน ใจสั่น อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวลมากกว่าปกติ นอนไม่ค่อยหลับ ปวดตามตัวโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งสัมพันธ์กับประวัติการหมดประจำเดือน เป็นต้น 2.มีอาการที่เรียกว่า Genitourinary Symptoms of Menopause (GSM) : มีช่องคลอดแห้งบาง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือ ปัสสาวะเล็ด เป็นต้น 3.ใช้ป้องกันภาวะมวลกระดูกหาย (Bone loss) และ การเกิดกระดูกหัก (Bone Fracture) สำหรับ ผู้ที่มีโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ในวัยหมดประจำเดือน โดยที่ไม่มีข้อห้ามใช้อื่น ๆ 4..ใช้ในผู้ที่หมดประจำเดือนก่อนวัย หรือ Premature menopause โดยทั่วไป คือ หมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี จากสาเหตุต่าง ๆ เป็นต้น #Reference : แนวทางเวชปฏิบัติ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดระดู RTCOG Clinical Practice Guideline Menopausal Hormone Therapy. Update 17th DEC 2021.

  • @jackiecute231
    @jackiecute231 Před 9 dny

    อายุ 44 หมด ประจำเดือน ถ้าไม่เทคฮอร์โมนอันตรายกว่าเทคไหมคะ

    • @doctortumm
      @doctortumm Před 8 dny

      อาจต้องเผชิญหน้ากับอาการวัยทองต่าง ๆ ที่มาจากฮอร์ดมนเพศหญิงต่ำ ทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว รวมถึง ร่างกายในทุกระบบอาจจะเสื่อมไวครับ เช่น สมอง หลอดเลือด หัวใจ กระดูก ก่อนใช้ควรพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการตรวจ และ ให้การดูแลรักษาต่อไปนะครับ

    • @jackiecute231
      @jackiecute231 Před 8 dny

      @@doctortumm ขอบคุณ​ค่ะ​ ฮอร์โมน​ชนิดทา​ เอกชนทั่วไปมีจ่ายคนไข้หรือไม่คะ​// ค่าใช้จ่าย​สูง?

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 9 dny

    #Reference : แนวทางเวชปฏิบัติ ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดระดู RTCOG Clinical Practice Guideline Menopausal Hormone Therapy. Update 17th DEC 2021.

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 9 dny

    #การใช้ฮอร์โมนในวัยทอง (MHT) : จากอดีตสู่ปัจจุบันในมิติของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ✅ Choose the Right Time ✅ Choose the Right Person ✅ Choose the Right Form (Hormones) ✅ Choose the Right Routes ✅ Choose the Right Doses ✅ Choose the Right Regimens ✅ Choose the Right Mindset ✅ And Choose the Best Lifestyle of yourself 👨‍⚕💙

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 10 dny

    ช่วงนาทีที่ 10.57 -11.12 มีสัญญาณขาดหายไปนิดนึงนะครับ เนื่องจากช่วงไลฟ์ สัญญาณอินเตอร์เนตหายไปครับ

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 10 dny

    Reference : J.E. Rossouw, G.L. Anderson, R.L. Prentice, et al. Risks and benefits of estrogen plus progestin in healthy postmenopausal women: principal results from the women's health initiative randomized controlled trial. JAMA, 288 (3) (2002), pp. 321-333. G.L. Anderson, M. Limacher, A.R. Assaf, et al. Effects of conjugated equine estrogen in postmenopausal women with hysterectomy: the women's health initiative randomized controlled trial. JAMA, 291 (14) (2004), pp. 1701-1712. M.I. Stefanick, G.L. Anderson, K.L. Margolis, et al. Effects of conjugated equine estrogens on breast cancer and mammography screening in postmenopausal women with hysterectomy. JAMA, 295 (14) (2006), pp. 1647-1657.

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 10 dny

    WHI : Women’s Health Initiative trials ; Healthy women Post-menopause : 50-70 yrs ; HRT (MHT) with CEE + MPA & CEE alone.

  • @tumm77
    @tumm77 Před 11 dny

    Great Contents

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 11 dny

    #โปรไบโอติกส์ (Probiotics) หมายถึง "จุลินทรีย์ที่มีชีวิตเมื่อเรารับประทานเข้ามาแล้วส่งผลดีสุขภาพ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้ว และผลิตสารที่มีฤทธิ์ต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ได้” . โดยทั่วไป คนเรามีจุลินทรีย์บางชนิดในระบบทางเดินอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งเราจัดเป็น "โปรไบโอติกส์" เราเรียกจุลินทรีย์เหล่านี้ว่า Microbiota การอยู่ร่วมกันเป็นระบบชุมชนจุลินทรีย์นี้ เรียกว่า Microbiome หากสูญเสียสมดุลนี้ไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมาได้ . นอกจากนี้ เรายังพบโปรไบโอติกส์ในอาหารบางประเภท ได้แก่ อาหารที่หมักดอง เช่น ผักดอง ซาวเคราท์ (Sauerkraut) กิมจิ คีเฟอร์ (Kefir) นม โยเกิร์ต ถั่วหมัก (นัตโตะ) มิโสะ เป็นต้น และปัจจุบันนี้ยังมีผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์เข้ามาให้เราทานเสริมได้อีกทางด้วย

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 11 dny

    ประโยชน์ของโปรไบโอติกส์ต่อสุขภาพ ที่มีข้อมูลงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุน ได้แก่ - ป้องกันอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสหรือจากยาปฏิชีวนะ - ส่งเสริมการทำงานที่สมดุลของระบบทางเดินอาหาร - ลดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร - ลดการอักเสบเรื้อรัง - ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย - ลดความเสี่ยงโรคกลุ่มภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้ที่ผิวหนัง - ส่งผลต่อระบบฮอร์โมนและเมตาบอลิสมของร่างกาย - ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสอินฟลูเอนซ่า ที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ และเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ อีกด้วย** - ลดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ - ด้านอื่น ๆ เช่น สร้างสร้างสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์ที่ดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 11 dny

    ปัจจุบันพบว่ามีปัญหาสุขภาพหลายอย่างมีจุดเริ่มต้นมาจาก #ปัญหาของภาวะลำไส้ดูดซึมผิดปกติ (Abnormal intestinal permeability) หรือ "Leaky gut” ซึ่งภาวะนี้ เกิดขึ้นที่เซลล์เยื่อบุของลำไส้ ที่ทำงานผิดปกติไปจากเดิมที่ควรจะเป็น จนสูญเสียหน้าที่สำคัญในการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ และ ไม่สามารถคัดกรองการเข้าออกของโมเลกุลสารต่าง ๆ ได้ รวมถึงความสามารถในการสร้าง #SEROTONIN จากระบบทางเดินอาหารอีกด้วย . สาเหตุของ Leaky gut โดยส่วนใหญ่เกิดการอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation) ซึ่งมาจากหลายสาเหตุหลายปัจจัย โดยเฉพาะเรื่องอาการการกิน และ ไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปมากมายในคนยุคนี้ . Leaky gut มีอาการผิดปกติออกมาได้หลายระบบ ทั้งในระบบทางเดินอาหาร และ นอกระบบทางเดินอาหาร เช่น ผิวหนัง ทางเดินหายใจ ระบบประสาทและสมอง ฮอร์โมน และ การเผาผลาญของร่างกาย รวมถึง โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายเซลล์ร่างกายตัวเอง (Autoimmune diseases) เป็นต้น . ดังนั้น การเรียนรู้ เข้าใจเรื่องสุขภาพลำไส้ จึงมีความสำคัญมากในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อการมีสุขภาพกาย ใจที่ดีอยู่เสมอ นั่นเอง . #Leakygut #LeakyGutSyndrome #GutHealth #Dysbiosis #หมอหล่อคอเล่า

  • @tumm77
    @tumm77 Před 12 dny

    🎉🎉✅✅

  • @ifof8882
    @ifof8882 Před 16 dny

    🎉🎉😂❤❤

  • @arunratrakiti3935
    @arunratrakiti3935 Před 17 dny

    ขอบคุณคะ

  • @tumm77
    @tumm77 Před 17 dny

    Great Contents !

  • @user-pe9ez9mn9w
    @user-pe9ez9mn9w Před 19 dny

    ขอบคุณค่ะ😊😊😊

  • @ifof8882
    @ifof8882 Před 21 dnem

    🎉🎉😂❤❤แค่อดบางมื้ ยังจะเป็นลมค่ะ หนูเดินวัล่ะ18-20กม 5ปีล่ะยังไม่ลดสักกิโล 70 เองค่ะ ท่อนบนใย่ ตรงแขนกล้ามฉีดยา หน้าอกโอ๊ยหนัก

  • @doctortumm
    @doctortumm Před 21 dnem

    Healthy Weight-loss vs Rapid Weight-loss ! ✅ Healthy Weight-loss rate : 0.5-1.0 kg/week ; 5-10% weight-loss in 3-6 months periods. . ❌ Rapid Weight-loss rate : >1.5-2 kg/week or lose >10+ kg in < 3 months periods . 👨🏻‍⚕📝 สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญและเฝ้าระวังในการวางแผนลดน้ำหนัก คือ การลดน้ำหนักที่ลดลงไว ลดลงมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ คือ ลดได้ >1.5-2 kg/week หรือ >10+ kg ในระยะเวลาที่ <3 เดือน เรียกว่า Rapid (Fast) Weight-loss ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสูงมาก ในการเกิด Weight Regain หรือ Yo Yo Effect ตามมาได้ พร้อมกับหลายปัญหาสุขภาพที่จะตามมาได้ เช่น . 1⃣ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้ไม่ครบ โดยเฉพาะกลุ่มสารอาหารไมโครนูเทรียนส์ วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ ยิ่งเสี่ยงได้ไม่ครบ ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายตามมา + ภาวะขาดน้ำ (Mild Dehydration) ได้ . 2⃣ ภาวะที่มวลกล้ามเนื้อหายไป เกิดมากในคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย . 3⃣ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี (Gallstones) เป็นต้น . ดังนั้น ไม่แนะนำและสนับสนุนให้ลดน้ำหนักทีละเยอะ ๆ หรือ ลดลงมาก ลดไว แนะนำให้ลดแบบค่อยเป็น ค่อยไป คือ ประมาณ 5-10% ของ นน. ตั้งต้น ในช่วงระเวลา ~3-6 เดือน และ ลดด้วยแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพของแต่ละคน ทั้งนี้ หากมีแพทย์ที่ดูแลเรื่องน้ำหนัก ระบบเผาผลาญช่วยติดตามดูแลให้อย่างสม่ำเสมอด้วยจะดีมาก นั่นเอง

  • @kunmawnan
    @kunmawnan Před 26 dny

    ❤คุณหมอธิบายได้เข้่าใจง่ายมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • @ok4076
    @ok4076 Před 27 dny

    พออายุมาก ลดน้ำหนักยากมากเลยแม้จะออกกำลังกายทุกวันคุมอาหารด้วย แต่กลับกันน้ำหนักจะเพิ่มอย่างง่ายกับคนอายุมาก ถ้าไม่คุมอาหาร

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    “พุง” คือ ผลผลิตที่สะท้อนถึงชีวิตประจำวันของเรา ทั้งเรื่องการกิน อยู่ นอนหลับ ความเครียด การเคลื่อนไหวร่างกาย ปัญหาสุขภาพ โรคที่มี ยาที่กิน ฯลฯ การลดพุง ลดอ้วน จึงต้องปรับทุกอย่างในชีวิต📍

  • @ifof8882
    @ifof8882 Před měsícem

    🎉🎉😂❤❤

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    ประวัติสุขภาพสำคัญที่ควรรู้ในการดูแลรักษาโรคอ้วนและปัญหาน้ำหนัก [1] Focus on Weight Changes History 1. เริ่มมีปัญหาน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ตอนไหน ? ตอนอายุกี่ปี ? ตั้งแต่ช่วงใดของชีวิต ? 2. ช่วงนี้ เป็นช่วงที่น้ำหนักมากที่สุด ? น้ำหนักคงที่ ? เป็นช่วงขาลงของน้ำหนัก ? 3. น้ำหนักที่มากที่สุด ? น้อยที่สุด ? เท่าไร ? 4.เคยลดน้ำหนักมาแล้วหรือยัง ? หากเคยลด ผลเป็นอย่างไร ? ลดได้มาก น้อยเพียงใด ? และ ใช้วิธีใดในการลด ?

  • @tumm77
    @tumm77 Před měsícem

    Great Job

  • @aornaumaranillabol6969
    @aornaumaranillabol6969 Před měsícem

    ❤❤❤❤❤❤❤❤❤

  • @mlcomputertrang
    @mlcomputertrang Před měsícem

    ❤😊ขอบคุณมากครับ😊❤

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    Reference Sources : 👨‍⚕📑 Nutritional basis of type 2 diabetes remission BMJ 2021; 374 doi: doi.org/10.1136/bmj.n1449 (Published 07 July 2021). Nutritional basis of type 2 diabetes remission BMJ 2021; 374 :n1449 doi:10.1136/bmj.n1449. Freeman AM, Pennings N. Insulin Resistance. [Updated 2021 Nov 15]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-. Available from: www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507839/ Calculation of protein requirements; a comparison of calculations based on bodyweight and fat free mass. Clin Nutr ESPEN. 2022 Apr;48:378-385. doi: 10.1016/j.clnesp.2022.01.014. Epub 2022 Jan 19. Circadian clocks and Insulin resistance. Nature Reviews, December 2018. www.nature.com/articles/s41574-018-0122-1/figures/2 Does Exercise Without Weight Loss Improve Insulin Sensitivity? Robert Ross, PHD. Diabetes Care 2003 Mar; 26(3): 944-945. doi.org/10.2337/diacare.26.3.944

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    7 Metabolic Health Markers ที่ควรได้ตรวจเป็นประจำ การมี #ระบบเผาผลาญที่มีความยืดหยุ่น (Metabolic Flexibility) คือ การที่ร่างกายสามารถใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานสะสมในร่างกายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ เหมาะสมกับสถานะของร่างกายในแต่ละช่วงเวลา . ซึ่งหัวใจสำคัญ ก็คือ การมี Metabolic Health Markers ที่สมดุล นั่นเอง . ลองมาเช็คกันว่า มีค่าเลือดตัวไหนกันบ้าง ที่เราควรรู้ควรได้ตรวจเช็คกัน ? 1. FBG (Fasting Blood Glucose) : ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด 2. Insulin (Fasting) : ระดับฮอร์โมนอินซูลินในเลือด ในช่วงที่งดทานอาหาร 3. Lipid profile : ระดับไขมันในเลือด ได้แก่ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ 4. hsCRP (high sensitivity C-Reactive Protein) : ค่าบ่งชี้การอักเสบในร่างกาย 5. Vitamin D level : ระดับวิตามินดีในเลือด 6. SHBG (Sex Hormone Binding Globlin) : โปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง ผลิตจากตับ ทำหน้าที่จับฮอร์โมนเพศชาย และ เพศหญิง (เอสโตรเจน) ทำให้ฮอร์โมนทำงานได้อย่างสมดุล 7. Hormones : ฮอร์โมนตัวสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญร่างกาย เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศหญิง รวมถึง ฮอร์โมน IGF-1 เป็นต้น . #MetabolicHealth #MetabolicCheckup #Metabolism #หมอหล่อคอเล่า

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    #ปัจจัยควบคุมกาะบวนการเผาผลาญร่างกายมีอะไรบ้าง? การมีระบบเผาผลาญที่ดีนั้น ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น เพศ อายุ ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย สารอาหารที่กินในแต่ละวัน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในแต่ละวัน การออกกำลังกาย เป็นต้น . ดังนั้น การตรวจเช็คระบบเผาผลาญร่างกายที่นิยมทำกัน จึงเป็นการตรวจวัดโดยวิธีทางอ้อม (Indirect medthod) เเนื่องจากปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการตรวจวิธีใดที่สามารถวัดได้แบบถูกต้อง 100 % . ดังนั้น การตรวจเช็คระบบการเผาผลาญร่างกายที่เหมาะสมที่สุด คือ การตรวจสุขภาพ เพื่อดูค่าเลือดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เราเรียกว่า “Metabolic Health Biomarkers" 👨🏻‍⚕📑 ซึ่งประกอบด้วย... 1. ตรวจวัดองค์ประกอบร่างกาย (BCA) : ปริมาณไขมัน กล้ามเนื้อ ปริมาณน้ำในร่างกาย 2. เช็คระดับน้ำตาล ไขมัน ค่าการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย (Metabolic Health checkup) 3. เช็คฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเผาผลาญร่างกาย : อินซูลิน ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ฮอร์โมนเพศ วิตามินดี เป็นต้น (Hormones Checkup)

  • @tumm77
    @tumm77 Před měsícem

    Great contents

  • @ifof8882
    @ifof8882 Před měsícem

    🎉🎉😂❤❤❤

  • @ifof8882
    @ifof8882 Před měsícem

    🎉🎉😂😂❤❤ดีค่ะ สาธุ

  • @ifof8882
    @ifof8882 Před měsícem

    🎉😂😂❤

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    #5วิธีรับมือกับความเครียดที่ทุกคนต้องรู้ ✨✨ ส่งท้ายปลายเดือนมีนาคมนี้ เชื่อว่าเป็นเดือนที่หลายคนเจออะไรต่าง ๆ มามากมายหลายอย่าง เจอความเครียด ความกดดันเข้ามาในแต่ละวันที่ผ่านเข้ามา หมอเลยขอนำแนวทางในการรับมือ การจัดการกับความเครียด มาฝากทุกคนครับ ซึ่งเราสามารถนำไปปรับใช้ได้ในรุปแบบที่เหมาะสมกับชีวิตของเราได้อย่างแน่นอน มาอ่านกัน ! . 1⃣ ลดการรับรู้เรื่องราวข่าวสารที่มากเกินไป โดยเฉพาะข่าวที่ทำให้เราอิน เราเครียด พักสายตา พักสมอง พักการรับรู้ข่าวสารเหล่านี้สักหน่อยน่าจะดี 2⃣ เอาเวลามาใส่ใจดูแลสุขภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจเราให้มากขึ้น 3⃣ มีเวลาว่างให้ตัวเองในทุก ๆ วัน เพื่อให้ได้ผ่อนคลาย ปล่อยตัว ปล่อยใจสบาย ๆ จอย ๆ รีแลก ๆ กันหน่อย 4⃣ คุยกับคนใกล้ชิดมากขึ้น จะแฟน จะเพื่อน จะคนในครอบครัว ได้หมดเลย ไม่เก็บหลายสิ่งหลายอย่างไว้ข้างในมากเกินไป เรียกว่า ฝึกการ ventilate stress ออกมาบ้างดีแน่นอน 5⃣ พาตัวเองออกไปเจอคนอื่นในสังคมบ้าง ตามความเหมาะสม และ หมั่นหากิจกรรมที่เราชอบ ทำอย่างสม่ำเสมอ . 👨‍⚕💙 หมอเชื่อว่าเราทุกคนมีวิธีรับมือและจัดการกับความเครียดที่ดีในแบบฉบับของเราอย่างแน่นอนครับ ใครมีเวลาไหนที่ทำประจำบ้าง ? เล่าให้ฟังหน่อยครับ รออ่านอยู่นะ 🙋‍♂🙋‍♀💙 #stressmanagement #stressreduction #หมอหล่อคอเล่า

  • @mlcomputertrang
    @mlcomputertrang Před měsícem

    ❤😊ขอบคุณมากครับ😊❤

  • @mlcomputertrang
    @mlcomputertrang Před měsícem

    ❤😊ขอขอบคุณมากครับ😊❤

  • @ifof8882
    @ifof8882 Před měsícem

    🎉🎉😂😂😂❤❤น่ากลัวทุกโรคค่ะ

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    References : 📑 ที่มาของข้อมูลอ้างอิงบทความข้างต้น Effects of Intermittent Fasting on Health, Aging, and Disease. N Engl J Med 2019; 381:2541-2551. www.nejm.org/doi/full/10.1056/nejmra1905136 Time-Restricted Eating Without Calorie Counting for Weight Loss in a Racially Diverse Population. A Randomized Controlled Trial. Ann Intern Med. 2023 Jul;176(7):885-895. www.acpjournals.org/doi/pdf/10.7326/M23-0052 Beneficial Effects of Early Time-Restricted Feeding on Metabolic Diseases: Importance of Aligning Food Habits with the Circadian Clock. Nutrients 2021, 13(5), 1405; doi.org/10.3390/nu13051405 Clinical application of intermittent fasting for weight loss: progress and future directions. Nat Rev Endocrinol 18, 309-321 (2022). doi.org/10.1038/s41574-022-00638-x Metabolic Effects of Intermittent Fasting. Annual Review of Nutrition 2017 37:1, 371-393. Link : www.annualreviews.org/doi/10.1146/annurev-nutr-071816-064634 Food Timing, Circadian Rhythm and Chrononutrition: A Systematic Review of Time-Restricted Eating’s Effects on Human Health. Nutrients 2020, 12, 3770. doi.org/10.3390/nu12123770 Effects of 4- and 6-h Time-Restricted Feeding on Weight and Cardiometabolic Health: A Randomized Controlled Trial in Adults with Obesity. Cell Metabolism, 2020; DOI: 10.1016/j.cmet.2020.06.018

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    👨‍⚕📑 โดยสรุปแล้ว กระบวนการทางชีวเคมี (Biochemistry) ที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ด้วย จากการทำ IF ได้แก่ - ลดกระบวนการสร้าง การเติบโต การสะสมสารอาหารและพลังงานของเซลล์ รวมถึงกระบวนการสืบพันธุ์ลง เพราะเป็นช่วงใช้พลังงานที่ร่างกายสะสมไว้ นั่นเอง - ทำให้ร่างกายเข้าสู่ช่วงซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมไป - ทำให้ร่างกายต้านทานความเครียดได้ดียิ่งขึ้น - รีไซเคิลของเสียในเซลล์ให้กลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง (Autophagy) - กระตุ้นการสร้างเตาเผาของเซลล์ คือ ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ให้มากขึ้น เซลล์จึงสร้างพลังงาน ATP ได้มากขึ้น การเผาผลาญดีขึ้น - ส่งเสริมการมีอายุที่ยืนยาว ชะลอโรค ชะลอวัย ผ่านหลาย ๆ กลไกที่กล่าวมาข้างต้น . 👨‍⚕📝 Collectively, the organism responds to intermittent fasting (IF) by… - minimizing anabolic processes (synthesis, growth, and reproduction) - favoring maintenance and repair systems - enhancing stress resistance - recycling damaged molecules - stimulating mitochondrial biogenesis - and promoting cell survival, all of which support improvements in health and disease resistance.

  • @doctortumm
    @doctortumm Před měsícem

    Intermittent Fasting (IF) “ไม่ใช่รูปแบบของอาหารลดน้ำหนัก” แต่เป็นแนวทางในการจัดสรรช่วงเวลาการกิน (Feeding periods) และ การหยุดกิน (Fasting periods) นั่นเอง . ดังนั้น ทุกคนจึงสามารถทำ IF ได้อย่างแน่นอน เพราะ IF ไม่ใช่สิ่งใหม่เลย เพียงแต่สำหรับคนที่ต้องการประยุกต์ใช้คอนเซปต์ของการทำ IF เพื่อลดน้ำหนักนั้น จำเป็นต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ IF ให้ถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาสุขภาพที่เราเป็นนั่นเอง . คอนเซปต์ของการทำ IF คือ การเว้นว่างให้ร่างกายเราได้พักจากการกิน การย่อย การดูดซึมอาหารบ้าง เพื่อให้กระบวนการสะสมสารอาหาร หรือ พลังงานสำรองของร่างกายที่เรียกว่า Anabolism นั้นลดลง และ สวิตช์โหมดมาเป็นกระบวนการเผาผลาญ หรือ การสลาย ที่เรียกว่า Catabolism เพิ่มขึ้น โดยการสลายน้ำตาลสะสมในรูปไกลโคเจน (Glycogen) และ ไขมันสะสมในร่างกาย (Adipose tissues) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ โดยผ่านกลไกที่สำคัญ ดังนี้ . ✅ การลดลงของระดับฮอร์โมน Insulin ในเลือด - จึงทำให้ดึงไขมันสะสมออกมาใช้เป็นพลังงานได้ (Lipolysis) . ✅ การลดลงของสาร mTOR - ลดการสร้างไขมัน + ลดการเก็บกรดอะมิโนในเซลล์กล้ามเนื้อ . ✅ การเพิ่มขึ้นของ AMPK - กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญในเซลล์ (AMPK = Energy sensor) . ⭕ 3 ตัวนี้ ทั้ง Insulin-mTOR-AMPK เรียกว่า #NutrientsSensor นั่นเอง 👨‍⚕‍📝